วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

7จุดตายธุรกิจ SMEs


หลังจากทำธุรกิจมาหลายอย่าง เจ้งบ้าง รอดบ้าง ตั้งแต่ร้านอาหาร ปล่อยเงินกู้ ฟาร์มไก่ จัดสัมมนาเรื่องลงทุน แต่ชีวิตก็ยังสู้ต่อไปสนุกที่ได้ทำ ทำให้รู้ว่าจุดสำคัญที่ต้องหมั่นใส่ใจบ่อยๆ มีดังนี้

1.เรื่องคน


เรื่องคนนี่ผมมองเป็นจุดตายของธุรกิจเลย ตั้งแต่หัวสุดคือเจ้าของกิจการจนถึงพนักงาน ผู้บริหารถ้ายังเป็นคนเดิม ส่วนใหญ่การตัดสินใจก็ยังเหมือนๆเดิม ผลลัพภ์ก็ออกมาเหมือนๆเดิม

ในส่วนของพนักงาน ถ้าไม่มีพนักงานที่มีฝีมือพอ ความรับผิดชอบไม่มี ชอบรวนเล่นการเมืองพาทีมล่ม สุดท้ายก็พาเจ้งได้เหมือนกัน

นอกจากเรื่องฝีมือแล้วสถานการณ์ตอนนี้คือสภาวะการขาดแคลนแรงงาน หลายธุรกิจต้องพึงพาแรงงานต่างด้าว ความเสี่ยงคือถถ้าประเทศเหล่านั้นเริ่มพัฒนา GDP ใหญ่พอที่เขาจะกลับบ้านไปทำธุรกิจ และเริ่มสะสมทุนได้ เดี๋ยวก็กลับไป ดังนั้นอย่าหวังว่าเราจะแข่งด้วยต้นทุนแรงงานที่ราคาถูกได้อีกต่อไป

2.มองทิศทางลมให้ออก


ทำธุรกิจต้องมองทิศทางลมหรืออุตสาหกรรมให้ออก สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าปรับตัวไม่ทันกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป ก็เจ้งไปหลายธุรกิจ กรณีศึกษาที่ดังๆ ก็เช่น โกดัก ที่แพ้กล้องดิจิตอล โนเกีย ที่แพ้ android

หลักๆคือเราต้องมองให้ออกว่าตอนนี้เราอยู่ช่วงไหนของอุสาหกรรม ถ้าอยู่ในช่วงต้นๆ คู่แข่งยังไม่มาก ทำอะไรออกมาขายก็รวยเพราะตลาดยังไม่ตัน ถ้ามองไม่ดีจะเจอภัยคุกคาม แอบๆคืบคลาดเข้ามา ช่วงแรกๆมีคู่แข่งใหม่เข้ามาก็ยังไม่น่ากลัวเท่าไร เพราะตลาดยังไม่ตัน พอเข้าช่วงอิ่มตัวตลาดเริ่มตันลูกค้าใหม่ไม่ค่อยมี จะเริ่มออกโปรโมชั่นแข่งกัน พอตลาดตันมากๆเข้าก็เริ่มลดราคา ส่วนภัยคุกคามที่น่ากลัวที่สุดคือเรื่องของสินค้าทดแทน เราไม่รู้ว่าสินค้าทดแทนจะเข้ามาเมื่อไร และลูกค้ามีแนวโน้มเปลี่ยนไปใช้งานสินค้าทดแทนมากขึ้นหรือไม่

3.การทำกำไร


ธุรกิจจะมีกำไรได้รายได้ต้องมากกว่ารายจ่าย ในการทำธุรกกิจ ถ้ามีระบบควบคุมการใช้จ่ายเงินไม่ดี ส่วนใหญ่จะเงินออกแบบไม่ค่อยรู้ตัว เผลอเงินไหลออกไปกับอะไรก้ยังไม่รู้ ดังนั้นผู้บริหารต้องคอยดูว่ารายได้เป็นอย่างไรยังเข้ามาเรื่อยๆหรือไม่ ต้นทุนขายยังคุมได้อยู่หรือเปล่า ค่าใช้จ่ายขายและบริหารมีอะไรหลุดไปแปลกๆอย่างไร และมีภาระดอกเบี้ยและภาษีเกินไปหรือไม่อย่างไร

โดยเฉพาะถ้าอุตสาหกรรมเริ่มเข้าสู่ภาวะ อิ่มตัวคู่แข่งเริ่มตัดราคาและเราไปเล่นสงครามราคาด้วย แสดงว่าเราต้องใช้กลยุทธ์ต้นทุนต่ำถ้าคุมต้นทุนได้ไม่ดี จะแพ้คู่แข่งที่สายป่านยาวกว่าได้

4.เงินทุนหมุนเวียน


หลายคนไม่ได้นึกถึงเรื่องนี้ หมุนเงินไม่ทัน เจ้าหนี้การค้ามายืนรอหน้าโรงงาน แต่เงินไม่มีซักบาท สินค้าก็ค้างอยุ่เต็มคลังสินค้ายังขายไม่ออก ลูกหนี้การค้าก็ยังไม่จ่ายเงิน วงเงินกู้เบิกเกินบัญชีก็ใช้ไปหมดแล้ว สุดท้ายก็ต้องเจ้งตามๆกันไป หลักๆเราต้องคอยดูว่า

  • ลูกหนี้ยังอยู่ในกำหนดหรือไม่ มีรายใหนที่มีแนวโน้มค้างชำระบ้าง 
  • สินค้าคงเหลือ ล้นเกินคลังสินค้าเริ่มมีของค้างสต็อกหรือไม่ ถ้าเป็นสินค้าที่เป็นเทคโนโลยีแล้วมีของค้างสต็อกเยอะๆ อาจเจ้งได้เพราะสินค้าเริ่มตกรุ่น สุดท้ายก็ต้องเอามาเลหลังถูกๆ
  • เจ้าหนี้การค้า จะขอยืดเขาได้หรือไม่ แต่ปกติยืดยาก


5.สินทรัพย์ไม่ได้ใช้ประโยชน์


ธุรกิจที่ดีความจะตัวเบา สินทรัพย์ในบริษัทควรใช้ประโยชน์ในการสร้างรายได้ได้ทุกชิ้น ไม่ใช้ซื้อมาแล้วไม่เกิดประโยชน์ เช่นอุปรณ์ตกแต่ง office อาจดูดีช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้องค์กร แต่เยอะไปก็เงินจม

บางครั้งสินทรัพย์ไม่ได้ใช้เกิดจากการลงทุนใหญ่เกินไป มองตลาดผิดคิดว่าจะดี ก็ลงทุนซะใหญ่โต แต่พอตลาดไม่มาอย่างที่คิด รายไม่มา แต่ต้นทุนคงที่บานเบอะ ทั้งค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าเสื่อม ดอกเบี้ย สุดท้าย เจ้ง

6.เรื่องหนี้สิน


หนี้สินบางคนมองเป็นปัญหา แต่จริงๆแล้วมีประโยชน์ถ้ากู้ในจำนวนที่เหมาะสม และมีกระแสเงินสดเพียงพอจ่ายหนี้ เพราะเหมือนคานงัดที่ช่วยให้เรารวยเร็วขึ้น เหมือนรวยด้วยเงินคนอื่น บางคนซื้อคอนโดมากะปล่อยให้เช่า สมมติลงทุน 1 ล้านบาท กู้เงินมา 9 แสน เงินทุนตัวเอง 1 แสน ถ้าปล่อยกู้เดือนละหมื่น ปีละ 120,000 แสดงว่าสินทรัพย์ สร้างลตอบแทนได้ปีละ 120,000/1,000,000=12% แต่ถ้าเทียบกับเงินที่เราลงทุนเพียง 100000 บาท เท่ากับเราได้ผลตอบแทนถึง 120,000/100,000=120%ต่อปี มันเยี่ยมจริงๆ

ปัญหาหนี้สินจริงๆเป็นเหมือนปัญหาปลายทางของธุรกิจ ถ้ามองสิ่งแวดล้อมทางธรกิจผิด ก็วางกลยุทธ์ผิด ลงทุนผิดทาง รายได้ไม่มา แต่ก็อยากอยู่ต่อก็กู้หนี้ยืมสินมาสู้ต่อ สุดท้ายหนี้บานขึ้นเรื่อยๆ ก็เจ้งได้

7.เงินทุนไม่พอ


เรื่องเงินทุนเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนที่อยากเป็นเถ้าแก่ใหม่ทุนท่าน เพราะจะทำธุรกิจนอกจากความชำนาญในธุรกิจนั้นแล้วก็ต้องมีเงินลงทุนในการสร้างกิจการ โดยเฉพาะช่วงแรกๆ ที่ต้องมีการขยายงานเพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ การกู้เงินจะเป็นเรื่องยากมากเพราะเจ้าหนี้ไม่เชื่อว่าเราสามารถทำได้จริงๆ หรือถ้ากุ้ได้ก็ต้องกู้ในต้นทุนที่แพงกว่าชาวบ้านเขา บางคนก็ต้องไปเปียแชร์มา ไม่เหมือนธุรกิจที่ดำเนินมานานแล้วธนาคารแย่งกันปล่อยกู้จนนับเงินไม่ทันกันเลยทีเดียว

เมื่อเงินทุนจำกัด การทำธุรกิจมักต้องทำด้วยความจำกัดจำเขี่ย เงินก็ไม่มี ช่วงแรกๆลูกค้ายังไม่ติด รายได้ไม่เข้า จะจ้างพนักงานก็ไม่มีเงินจ้าง ต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ตั้งแต่กรรมการผู้จัดการยันแม่บ้าน เงินทุนขยายร้านก็ไม่มี เงินทุนหมุนเวียนก็ขาด สุดท้ายเจ้ง ดังนั้นจะเริ่มทำธุรกิจต้องวางแผนดีๆนะครับ ว่าต้องใช้เงินลงทุนเท่าไร และเงินที่ใช้หมุนในธุรกิจเป็นเท่าไร

ทั้ง 7 ข้อนี้เป็นปัญหาที่เจอบ่อยๆในธุรกิจ SME ครับ วางแผนจัดการดีๆตั้งๆแต่ต้นก็ไม่มีปัญหาอะไรครับผม เหลือแค่ใจสู้หรือเปล่าเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น