วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

กลยุทธ์ขายของแพงให้ลูกค้ามองว่าถูก

ไม่ว่าคุณจะขายสินค้าราคาถูก หรือสินค้าราคาแพง ก็ใช้ความพยายามเท่ากัน ถ้าเราสามารถขายสินค้าให้ราคาแพงขึ้นได้ ชีวิตก็จะดีขึ้น

กรณีศึกษาที่เห็นได้ชัดคือข่าว ชาวเน็ตช้ำใจกินข้าวกระเพราข้างทางจานละ 150 บาท ไม่เคยกินราคาแพงเกินขนาดนี้ (http://news.sanook.com/1873395/) ทำให้นึกถึงเรื่งอกลยุทธ์การตลาดการตั้งราคา

จากเคสนี้จะเห็นว่าในมุมมองของลูกค้า (ชาวเน๊ต)

  • ข้าวผัดกระเพรากุ้งร้านป้าขาย 150 "แพง"
  • แต่ในทางกลับกัน เวลาไปกิน ข้าวผัดกระเพราห้างสุดชิคย่านพร้อมพงษ์150 บอก "คุ้มค่า"
แสดงว่าจริงๆ แล้วค่าความถูกแพงในมุมมองของลูกค้า ไม่ได้เป็นค่าสมบูรณ์ ว่าต้องราคาเท่าไรถึงถูก ราคาเท่าไรถึงแพง แต่เป็นถูกแพงเชิงสัมผัส โดยลูกค้าจะเปรียบเทียบระหว่างสิ่งทีได้รับกับสิ่งที่จ่ายว่าผลตอบแทนคุ้มทางเลือกที่ยอมสละไปหรือไม่

ในกรณีนี้ ข้าวผัดกระเพรากุ้งร้านป้าขาย 150 ในมุมมองผู้บริโภคมองว่า "แพง" เพราะคุณค่าที่เขาได้ ลูกค้าเอาไปเปรียบเทียบกับร้านค้าข้างทาง ที่ราคาไม่เกิน 40 บาท เลยมองว่าแพง

ในทางกลับกันถ้าทางร้านปรับการตกแต่งเป็น ไสตร์ห้างสุดชิคย่านพร้อมพงษ์ ใส่สตอรี่ว่าเป็นกุ้งจากทะเลมิติเรเนี่ยน ล่องเรือไปจับเองกับมือ ต้องเสี่ยงชีวิตกว่าจะหาได้ ข้าว กระเพรา กระเทียม พริก ปลูกเอก ทั้งหมด โม้ๆไป

คุณค่าในใจของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น จากเดิมมองแค่ funtion ก็จะเพิ่ม value เป็นอาหารที่มาจากความยากลำบาง และยอมจ่ายแพงมากขึ้น

เมื่อรู้ว่าลูกค้าไม่ได้มองว่าถูกหรือแพงจากราคา แต่เป็นการเปรียบเทียบว่าสิ่งที่เสียไป กับได้มา คุ้มหือไม่ กลยุทธ์ขายของแพงให้ลูกค้ามองว่าถูก คือต้องเพิ่มคุณค่าที่ลูกค้าต้องการเข้าไปให้ได้ แล้วเขาจะยอมซื้อเรา

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

5ไอเดียทำธุรกิจจากที่ทำงานคุณ

หลายคนทำงานประจำอยากทำธุรกิจหารายได้เสริมแต่ไม่รู้เริ่มต้นอย่างไร จริงๆมองไปรอบๆofficeนี่คือเงินทั้งนั้นถ้าเรารู้จักคิดต่อยอดเพราะ รายจ่ายของบริษัทมองอีกทางก็คือรายได้ของเรานั่นเอง เราเพียงแค่เสนอสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองลูกค้าได้ก็ได้ธุรกิจละ

1.การจัดหาเงินทุน

แหล่งทุนคือหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ไม่รู้เริ่มทำอะไรก็ปล่อยกู้คนเริ่มทำธุรกิจนั่นแหละเพราะช่วงแรกธนาคารมักไม่ค่อยปล่อยกู้ เงินหนาห่อยก็ปล่อยสินเชื่อแฟกตอริ่ง หรือรับซื้อลดลูกหนี้ บริษัทไหนร้อนเงินแต่มีลูกหนี้จ่ายเงินแน่ๆก็เอามาขาย

แหล่งทุนก็จะมีอาชีพนายหน้าจับนักลงทุนที่มีเงินกับบริษัทที่ต้องการเงินทุนมาเจอกัน ก็ได้หัวคิวเงินดี

2.การลงทุนซื้อสินทรัพย์

เมื่อหาเงินทุนได้แล้วก็เริ่มลงทุน หรือบริษัทที่จะขยายกิจการลงทุนเพิ่ม ยังไงก็ต้องซื้อที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เกิดอาชีพเพียบเช่น นายหน้าขายที่ รับเหมาสร้างอาคาร วางระบบน้ำ ไฟ ความเย็น ขายเครื่องจักร

เมื่อลงทุนไปแล้วก็ต้องดูแลรักษา อาชีพรับเหมาบริการบำรุงรักษา ซ่อมเครื่อง ขายอะไหล่ ฯลฯ

หรืออาจไปรับจ้างผลิดเป็นoemไปก็ได้

3.เงินทุนหมุนเวียน

เมื่อธุรกิจดำเนินไป ก็ต้องมีลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เจ้าหนี้การค้าที่เอาของมาให้ก่อนค่อยเก็บเงิน วนไปวนมา ดูดีๆ ก็เป็นอาชีพได้

ลูกหนี้การค้า ขายยังไม่ได้เก็บเงิน ถ้าเริ่มช้ารับจ้างทวงหนี้ก็ได้

สินค้าคงเหลือ อาชีพเยอะทั้งขายอุปกรณ์คลังสินค้า รับจัดการlogistics. softwareบริหารlogistics. ยามเฝ้าคลัง ฯลฯ

เจ้าหนี้การค้า ถ้าสนิทๆฝายจัดซื้อก็เป็นsupplierเองซะเลย

4.ช่วยหารายได้

รายได้เป็นแหล่งที่มาของเงิน ถ้าเรามีนวัตกรรมที่ช่วงบริษัทหารายได้ได้เงินจะไหลมาเทมา เช่นเป็นนายหน้า ตัวแทนจัดจำหน่าย รับสินค้าไปขาย ขายระบบcrm ที่ปรึกษาการตลาด

5.งานสนับสนุน

งานสนับสนุนพวกนี้ขาดไม่ได้ ไม่มีงานไม่เดินเช่นเรื่องคน เราก็เป็นนายหน้าเปิดเป็นบริษัทheadhunter หาพนักงาน รับทำระบบเงินเดือน รับส่งคนงาน หาoutsource  รปภ  แม่บ้าน

ทำอพาร์ทเม้น ขายอาหาร ตลาดนัด. ขายอุปกรณ์สิ้นเปลืองสำนักงาน กระดาษ หมึก ฯลฯ ขายตั๋วเครื่องบิน ฯลฯ

จริงๆแล้วไอเดียธุรกิจอยู่รอบตัวเราอยู่ที่เราจะเห็นแล้ว นำเสนอสินค้าและบริการเราอย่างไรนั่นเอง


วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

7จุดตายธุรกิจ SMEs


หลังจากทำธุรกิจมาหลายอย่าง เจ้งบ้าง รอดบ้าง ตั้งแต่ร้านอาหาร ปล่อยเงินกู้ ฟาร์มไก่ จัดสัมมนาเรื่องลงทุน แต่ชีวิตก็ยังสู้ต่อไปสนุกที่ได้ทำ ทำให้รู้ว่าจุดสำคัญที่ต้องหมั่นใส่ใจบ่อยๆ มีดังนี้

1.เรื่องคน


เรื่องคนนี่ผมมองเป็นจุดตายของธุรกิจเลย ตั้งแต่หัวสุดคือเจ้าของกิจการจนถึงพนักงาน ผู้บริหารถ้ายังเป็นคนเดิม ส่วนใหญ่การตัดสินใจก็ยังเหมือนๆเดิม ผลลัพภ์ก็ออกมาเหมือนๆเดิม

ในส่วนของพนักงาน ถ้าไม่มีพนักงานที่มีฝีมือพอ ความรับผิดชอบไม่มี ชอบรวนเล่นการเมืองพาทีมล่ม สุดท้ายก็พาเจ้งได้เหมือนกัน

นอกจากเรื่องฝีมือแล้วสถานการณ์ตอนนี้คือสภาวะการขาดแคลนแรงงาน หลายธุรกิจต้องพึงพาแรงงานต่างด้าว ความเสี่ยงคือถถ้าประเทศเหล่านั้นเริ่มพัฒนา GDP ใหญ่พอที่เขาจะกลับบ้านไปทำธุรกิจ และเริ่มสะสมทุนได้ เดี๋ยวก็กลับไป ดังนั้นอย่าหวังว่าเราจะแข่งด้วยต้นทุนแรงงานที่ราคาถูกได้อีกต่อไป

2.มองทิศทางลมให้ออก


ทำธุรกิจต้องมองทิศทางลมหรืออุตสาหกรรมให้ออก สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าปรับตัวไม่ทันกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป ก็เจ้งไปหลายธุรกิจ กรณีศึกษาที่ดังๆ ก็เช่น โกดัก ที่แพ้กล้องดิจิตอล โนเกีย ที่แพ้ android

หลักๆคือเราต้องมองให้ออกว่าตอนนี้เราอยู่ช่วงไหนของอุสาหกรรม ถ้าอยู่ในช่วงต้นๆ คู่แข่งยังไม่มาก ทำอะไรออกมาขายก็รวยเพราะตลาดยังไม่ตัน ถ้ามองไม่ดีจะเจอภัยคุกคาม แอบๆคืบคลาดเข้ามา ช่วงแรกๆมีคู่แข่งใหม่เข้ามาก็ยังไม่น่ากลัวเท่าไร เพราะตลาดยังไม่ตัน พอเข้าช่วงอิ่มตัวตลาดเริ่มตันลูกค้าใหม่ไม่ค่อยมี จะเริ่มออกโปรโมชั่นแข่งกัน พอตลาดตันมากๆเข้าก็เริ่มลดราคา ส่วนภัยคุกคามที่น่ากลัวที่สุดคือเรื่องของสินค้าทดแทน เราไม่รู้ว่าสินค้าทดแทนจะเข้ามาเมื่อไร และลูกค้ามีแนวโน้มเปลี่ยนไปใช้งานสินค้าทดแทนมากขึ้นหรือไม่

3.การทำกำไร


ธุรกิจจะมีกำไรได้รายได้ต้องมากกว่ารายจ่าย ในการทำธุรกกิจ ถ้ามีระบบควบคุมการใช้จ่ายเงินไม่ดี ส่วนใหญ่จะเงินออกแบบไม่ค่อยรู้ตัว เผลอเงินไหลออกไปกับอะไรก้ยังไม่รู้ ดังนั้นผู้บริหารต้องคอยดูว่ารายได้เป็นอย่างไรยังเข้ามาเรื่อยๆหรือไม่ ต้นทุนขายยังคุมได้อยู่หรือเปล่า ค่าใช้จ่ายขายและบริหารมีอะไรหลุดไปแปลกๆอย่างไร และมีภาระดอกเบี้ยและภาษีเกินไปหรือไม่อย่างไร

โดยเฉพาะถ้าอุตสาหกรรมเริ่มเข้าสู่ภาวะ อิ่มตัวคู่แข่งเริ่มตัดราคาและเราไปเล่นสงครามราคาด้วย แสดงว่าเราต้องใช้กลยุทธ์ต้นทุนต่ำถ้าคุมต้นทุนได้ไม่ดี จะแพ้คู่แข่งที่สายป่านยาวกว่าได้

4.เงินทุนหมุนเวียน


หลายคนไม่ได้นึกถึงเรื่องนี้ หมุนเงินไม่ทัน เจ้าหนี้การค้ามายืนรอหน้าโรงงาน แต่เงินไม่มีซักบาท สินค้าก็ค้างอยุ่เต็มคลังสินค้ายังขายไม่ออก ลูกหนี้การค้าก็ยังไม่จ่ายเงิน วงเงินกู้เบิกเกินบัญชีก็ใช้ไปหมดแล้ว สุดท้ายก็ต้องเจ้งตามๆกันไป หลักๆเราต้องคอยดูว่า

  • ลูกหนี้ยังอยู่ในกำหนดหรือไม่ มีรายใหนที่มีแนวโน้มค้างชำระบ้าง 
  • สินค้าคงเหลือ ล้นเกินคลังสินค้าเริ่มมีของค้างสต็อกหรือไม่ ถ้าเป็นสินค้าที่เป็นเทคโนโลยีแล้วมีของค้างสต็อกเยอะๆ อาจเจ้งได้เพราะสินค้าเริ่มตกรุ่น สุดท้ายก็ต้องเอามาเลหลังถูกๆ
  • เจ้าหนี้การค้า จะขอยืดเขาได้หรือไม่ แต่ปกติยืดยาก


5.สินทรัพย์ไม่ได้ใช้ประโยชน์


ธุรกิจที่ดีความจะตัวเบา สินทรัพย์ในบริษัทควรใช้ประโยชน์ในการสร้างรายได้ได้ทุกชิ้น ไม่ใช้ซื้อมาแล้วไม่เกิดประโยชน์ เช่นอุปรณ์ตกแต่ง office อาจดูดีช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้องค์กร แต่เยอะไปก็เงินจม

บางครั้งสินทรัพย์ไม่ได้ใช้เกิดจากการลงทุนใหญ่เกินไป มองตลาดผิดคิดว่าจะดี ก็ลงทุนซะใหญ่โต แต่พอตลาดไม่มาอย่างที่คิด รายไม่มา แต่ต้นทุนคงที่บานเบอะ ทั้งค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าเสื่อม ดอกเบี้ย สุดท้าย เจ้ง

6.เรื่องหนี้สิน


หนี้สินบางคนมองเป็นปัญหา แต่จริงๆแล้วมีประโยชน์ถ้ากู้ในจำนวนที่เหมาะสม และมีกระแสเงินสดเพียงพอจ่ายหนี้ เพราะเหมือนคานงัดที่ช่วยให้เรารวยเร็วขึ้น เหมือนรวยด้วยเงินคนอื่น บางคนซื้อคอนโดมากะปล่อยให้เช่า สมมติลงทุน 1 ล้านบาท กู้เงินมา 9 แสน เงินทุนตัวเอง 1 แสน ถ้าปล่อยกู้เดือนละหมื่น ปีละ 120,000 แสดงว่าสินทรัพย์ สร้างลตอบแทนได้ปีละ 120,000/1,000,000=12% แต่ถ้าเทียบกับเงินที่เราลงทุนเพียง 100000 บาท เท่ากับเราได้ผลตอบแทนถึง 120,000/100,000=120%ต่อปี มันเยี่ยมจริงๆ

ปัญหาหนี้สินจริงๆเป็นเหมือนปัญหาปลายทางของธุรกิจ ถ้ามองสิ่งแวดล้อมทางธรกิจผิด ก็วางกลยุทธ์ผิด ลงทุนผิดทาง รายได้ไม่มา แต่ก็อยากอยู่ต่อก็กู้หนี้ยืมสินมาสู้ต่อ สุดท้ายหนี้บานขึ้นเรื่อยๆ ก็เจ้งได้

7.เงินทุนไม่พอ


เรื่องเงินทุนเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนที่อยากเป็นเถ้าแก่ใหม่ทุนท่าน เพราะจะทำธุรกิจนอกจากความชำนาญในธุรกิจนั้นแล้วก็ต้องมีเงินลงทุนในการสร้างกิจการ โดยเฉพาะช่วงแรกๆ ที่ต้องมีการขยายงานเพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ การกู้เงินจะเป็นเรื่องยากมากเพราะเจ้าหนี้ไม่เชื่อว่าเราสามารถทำได้จริงๆ หรือถ้ากุ้ได้ก็ต้องกู้ในต้นทุนที่แพงกว่าชาวบ้านเขา บางคนก็ต้องไปเปียแชร์มา ไม่เหมือนธุรกิจที่ดำเนินมานานแล้วธนาคารแย่งกันปล่อยกู้จนนับเงินไม่ทันกันเลยทีเดียว

เมื่อเงินทุนจำกัด การทำธุรกิจมักต้องทำด้วยความจำกัดจำเขี่ย เงินก็ไม่มี ช่วงแรกๆลูกค้ายังไม่ติด รายได้ไม่เข้า จะจ้างพนักงานก็ไม่มีเงินจ้าง ต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ตั้งแต่กรรมการผู้จัดการยันแม่บ้าน เงินทุนขยายร้านก็ไม่มี เงินทุนหมุนเวียนก็ขาด สุดท้ายเจ้ง ดังนั้นจะเริ่มทำธุรกิจต้องวางแผนดีๆนะครับ ว่าต้องใช้เงินลงทุนเท่าไร และเงินที่ใช้หมุนในธุรกิจเป็นเท่าไร

ทั้ง 7 ข้อนี้เป็นปัญหาที่เจอบ่อยๆในธุรกิจ SME ครับ วางแผนจัดการดีๆตั้งๆแต่ต้นก็ไม่มีปัญหาอะไรครับผม เหลือแค่ใจสู้หรือเปล่าเท่านั้น