วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3เรื่องที่ต้องระวังในการขายลูกค้ารายใหญ่(Key Account)

ลูกค้ารายใหญ่หรือที่หลายคนรู้จักกันในนาม “Key Account” นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะหลายๆอย่างที่ไม่เหมือนลูกค้าขนาดเล็กหรือขนาดกลางทั่วไป
หลายบริษัทตระหนักในจุดนี้ดีและมีการแยกแผนกออกมาอย่างชัดเจนเป็นแผนก Key Account
หรือบางบริษัทมีการแบ่งขนาดของลูกค้าและคัดเลือกพนักงานอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะมาดูแล Key Account ต่างหากเลย
มีคุณสมบัติ 2-3 ข้อของ Key Account ที่ผมอยากมาแบ่งปันให้เห็นตามนี้ครับ

1.ขั้นตอนการตัดสินใจซับซ้อน
ต้องร่วมอนุมัติสั่งซื้อด้วยกลุ่มคนหลายคน ข้อระวังคืออย่ามั่นใจว่าคนที่คุณคุยอยู่จะฟันธงทุกสิ่งอย่างให้คุณได้

2.อย่าหลงดีใจว่าแค่ได้ออเดอร์มาแล้ว เพราะคุณอาจปิดโอกาสให้ตัวเอง
Key Account รายเดียวอาจเปรียบเหมือนลูกค้ารายเล็กๆน้อยๆซ่อนอยู่ในนั้นอีกเป็นสิบราย หาให้เจอว่ามีแผนกไหนอีกบ้างที่เราจะขายอะไรเพิ่มได้

3.ออเดอร์แรกสำคัญมาก
ห้ามคิดเด็ดขาดว่าเราคือฝ่ายขาย ดังนั้นตอนส่งมอบต้องเป็นหน้าที่ของแผนกอื่น เพราะถ้าเราทุ่มเทเต็มที่กับออเดอร์แรก งานต่อๆมาอาจวิ่งเข้าหาโดยที่เราไม่ต้องออกแรงเลย

ลองดูครับว่าลูกค้ารายไหนของคุณเข้าเค้าเป็น “Key Account” บ้างและพยายามอย่าละเลยหัวข้อเบสิคดังกล่าวที่ว่ามานะครับ

ที่มา https://www.facebook.com/Sales101Thailand/photos/a.903098266381755.1073741828.899449636746618/1047203155304598/?type=1

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทำงานแบบ Multitasking ดีจริงหรือ

Multitasking [1]

แม้ว่าใน Job Description ของงานในปัจจุบันมักจะบอกว่าให้พนักงานสามารถทำงานแบบ Multitasking ได้ จนกลายเป็นความคิดกันว่ามันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของคนในปัจจุบัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว Multitasking นั้นกลับไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกแนะนำเสียเท่าไรนัก แถมออกจะเป็นสิ่งที่หนังสือพัฒนาตัวเองหรือสอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพบอกให้เลิกทำเสียด้วย

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ผมลองรวบรวมข้อคิดต่างๆ จากการอ่านหนังสือหลายๆเล่มรวบรวมสรุปมาเล่าสู่กันฟังนะครับ

1. Multitasking คือการทำงานแบบไม่โฟกัส

บางคนจะคิดว่าการทำงานแบบ Multitasking นั้นดีเพราะสามารถทำได้หลายๆ งานพร้อมๆ กัน ซึ่งนั่นน่าจะหมายความว่าเราสามารถทำงานให้เสร็จพร้อมๆ กันได้แทนที่จะทำเสร็จไปทีละงาน

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผมเชื่อว่าสิ่งที่หลายๆ คนก็พอจะรู้กันอยู่ก็คือการทำงานแบบโฟกัสทีละงานนั้นได้ผลดีกว่า การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่า ได้งานที่มีคุณภาพมากกว่า แถมใช้เวลาน้อยกว่าการทำงานแบบ Multitasking เสียอีก ทั้งนี้เพราะในช่วงเวลาที่เรากำลังโฟกัสกับงานนั้น ทำให้สมองของเราถูกใช้งานอย่างเต็มที่ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ สามารถนำไปสู่การคิดที่ลึกซึ้งและมองรายละเอียดต่างๆ ได้ดีกว่าการมองทั่วๆ ไป และแน่นอนว่านั่นทำให้งานที่เกิดขึ้นจากการโฟกัสจะได้ผลดีกว่าเป็นไหนๆ แถมพอไม่ต้องคิดๆ หยุดๆ แล้วก็ทำให้ความคิดต่างๆ ต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาน้อยกว่าทำงานแบบต้องทำๆ หยุดๆ นั่นแหละ

2. การทำงานหลายๆ โปรเจคพร้อมกันไม่ได้แปลว่าทำงานแบบ Multitasking

เราอาจจะเห็นคนเก่งๆ หลายคนสามารถทำงานหลายๆ อย่างได้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาทำงานทุกอย่างพร้อมๆ กัน อันที่จริงถ้าเราไปดูพฤติกรรมของพวกเขาแล้วมันจะออกไปในทางลักษณะทำทีละงานได้อย่างรวดเร็วและค่อยไปสู่โปรเจคถัดไป ซึ่งพอกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วก็เลยดูเหมือนว่าในแต่ละวันนั้นพวกเขาสามารถทำงานได้หลายโปรเจค สามารถรับงานได้มากกว่าคนทั่วๆ ไป

แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไปดูคนที่ทำงานแบบ Multitasking ประเภททำทุกๆ อย่างพร้อมกัน เดี๋ยวไอ้นั่นมาขัด เดี๋ยวสลับหัวไปคุยงานนั้น สุดท้ายก็จะกลายเป็นว่าทำงานแบบพอเสร็จไปได้แต่ก็ไม่ได้งานที่ดีสักเท่าไรนัก

3. มีไม่กี่คนที่ทำงาน Multitasking ได้ดีจริงๆ

ผมจำไม่ได้แน่ชัดว่าเป็นข้อมูลจากไหน แต่มีการพูดกันทำนองว่าในสัก 100 คนจะมีไม่ถึง 10 คนที่สามารถทำงาน Multitasking แล้ว “ได้ดี” จริงๆ ทั้งนี้เพราะพวกเขามีการถูกฝึกและปรับสมองให้สามารถรองรับการทำงานแบบนี้ได้

แต่สำหรับคนทั่วๆ ไปนั้น เราเป็นคนประเภทที่เหมาะกับการทำงานแบบใช้สมาธิมากกว่า อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพแวดล้อมปัจจุบันนั้นเรามีสิ่งเร้าและสิ่งกวนใจอยู่ค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์เด้งเตือน แชทต่างๆ ซึ่งนั่นทำให้เราคุ้นเคยกับการทำตัวเองให้ใช้ชีวิตแบบ Multitasking จนดูเป็นกิจวัตรประจำวัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถทำมันอย่างมีประสิทธิภาพแต่อย่างใด

พอเป็นแบบนี้แล้ว เราอาจจะต้องปรับวิธีคิดในการทำงานกันใหม่เพราะ Multitasking อาจจะเป็นสกิลที่ไม่ได้ทำให้เราทำงานมีประสิทธิภาพอย่างที่หลายๆ คนคิด มันอาจจะเป็นนิสัยพื้นฐานของคนปัจจุบันแต่ก็อาจจะเป็นอุปสรรคในการทำงานไปพร้อมๆ กันด้วย

ถ้าใครเจอภาวะที่ต้องทำงานหลายๆ โปรเจค มีหลายงานเข้ามาพร้อมๆ กัน สิ่งที่เราควรทำไม่ใช่การทำมันทุกงานไปพร้อมๆ กัน แต่มันคือการโฟกัสและจัดการไป “ทีละเรื่อง” นั่นแหละครับ

ที่มา[1] Pumpart Carusata, https://www.facebook.com/pumpart.crusata/posts/845611168858771

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

6 วิธีคิด สู่ความสำเร็จ โดยหนุ่มเมืองจันทร์

6 วิธีคิด สู่ความสำเร็จ โดยหนุ่มเมืองจันทร์ 3สค2558 บันทึกโดยคุณ Pui Pornchai
1) คิดแบบละเอียด
คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน เจ้าของ MK สุกี้ นำวิชาวิศวะที่เรียนมาด้วยวิธีคิดคำนวณอย่างละเอียด ทำให้ร้านสุกึ้ของแม่ยาย กลายเป็นบริษัทมหาชน
เมื่อสุกี้ขึ้นห้าง ห้างเปิด 10-21 น ชั่วโมงทำเงินของกิจการคือ 11-14 น กับ 17-20 น เวลา 6 ชั่วโมง กับการให้ลูกค้ารอน้อยที่สุด เพื่อให้ขายได้มากที่สุด ด้วยการคำนวณทุกนาที เพื่อประหยัดเวลาในทุก step เพราะ "เวลามีราคา"...
สมมุติแต่ละสาขาสามารถเรียกลูกค้าเพิ่มจากการประหยัดเวลาได้วันละ 40 โต๊ะ และสมมุติว่า MK มี 400 สาขา เฉลี่ยรายได้ 500฿/โต๊ะ
ความรวดเร็วในการบริการซึ่งทำให้ MK โดดเด่นแตกต่างจากร้านอื่น ด้วยการประหยัดเวลาในทุกขั้นตอน จากการพิถีพิถันคำนวณอย่างละเอียด ทำให้ MK มีรายได้เพิ่มขึ้นมากถึง 400 สาขา * 40 โต๊ะ * 500 บาท * 30 วัน * 12 เดือน = ****2,880,000,000฿ต่อปี****
Tips : งานของเรา "เวลามีราคา" เช่นเดียวกัน หากเราวางแผนการทำงานเพื่อให้ได้เนื้องานเท่าเดิมในเวลาที่น้อยลง จะสามารถทำให้เราเสมือนมีเวลาทำงานที่มากกว่าคนอื่น
ทุกๆเวลา 1 ชั่วโมงที่เพิ่มขึ้น จะทำให้เรามีเวลาเพิ่มกว่าคนอื่นถึง 365 ชม/ปี หารด้วย 8 = เวลาที่เพิ่มขึ้นถึง 45 วันทำงานเลยทีเดียว. ...
2)คิดไม่ยาก
อย่าไปคิดว่าปัญหายากต้องแก้ด้วยวิธีที่ยุ่งยาก ปัญหายากๆหลายอย่าง สามารถแก้ได้ด้วยวิธีที่ง่ายนิดเดียว บ่อยครั้งไปที่เราเห็นใครแก้ปัญหาอะไรบางอย่าง แล้วเราก็ถามตัวเองว่า " ง่ายแค่นี้ทำไมเราคิดไม่ได้ ( วะ 555 ) "
ความง่าย คือความงาม
3) คิดจากปัญหา
ปัญหาคือบิดาของนักประดิษฐ์
เมื่อมีปัญหา ย่อมมีผู้คิดวิธีแก้ปัญหา และนั่นทำให้สิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น
เช่น คุณอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของ Land&Hourses เจอวิกฤติปี 40 เป็นหนี้จากค่าเงินบาทลอยตัว 40,000 ล้านบาท. ตัดสินใจไม่ลดพนักงาน เพราะค่าจ้างพนักงานทุกคนมีผลกับต้นทุนแค่ 10% และเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจต้องกลับมาดีอีกครั้ง คนเหล่านี้ก็จะเป็นทรัพยากรที่สำคัญในอนาคต
เมื่อพนักงานเยอะ แต่ไม่มีงานทำ คุณอนันต์เลยให้พนักงานไปทำการสำรวจความคิดเห็นของลูกค้าที่ซื้อบ้านแลนด์ว่าต้องการบ้านที่มีลักษณะใดบ้าง กลายมาเป็นแบบบ้านใหม่คือ แบบบ้านสบาย ที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ มีครัวไทยด้านนอก ห้องน้ำเป็นแบบยืนอาบและเอาอ่างอาบน้ำออกไป จนขายดิบขายดีและเป็นบริษัทที่เติบโตมาจนถึงทุกวันนี้
4) คิดจากคำถาม ( พลิกวิธีคิด )
ทำยังไงให้การทำในแบบที่ทำอยู่ แต่มีวิธีนำเสนอใหม่ให้น่าสนใจมากขึ้น
5) คิดนอกกรอบ
6) คิดแบบคนรวย ( คิดแล้วลงมือทำ )
คนส่วนใหญ่ชอบคิดว่า วันหนึ่งเรา "ตื่น" ขึ้นมา แล้วจะกลายเป็น "คนรวย"
เขาคิดถูกแค่ครึ่งเดียว คือ "ตื่น" ขึ้นมา
ทอมัส อัลวา เอดิสัน
ความสำเร็จต้องมีส่วนผสม 2 อย่าง
1 ความคิด
2 ลงมือทำ
"ชีวิตเหมือนกับการขี่จักรยาน
เราต้องหาสมดุลระหว่างล้อ 2 ล้อ และต้องเคลื่นที่ไปข้างหน้า "
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ชีวิต = ความสำเร็จ + ความสุข
# เราอยากเป็นต้นไม้ที่สูงที่สุด หรือ ต้นไม้ที่แผ่กิ่งก้านกว้างที่สุด
"อย่าวัดตัวเองด้วยความสำเร็จของคุณ. แต่จงวัดมันด้วยความสุขของผู้คนรอบข้างคุณ"
เจอรี่ ซักเกอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Ghost
‪#‎การทำงานเป็นทีม‬#
ถ้าเราชนะ เราชนะทั้งทีม แต่ถ้าเราส่งไม้พลาด เราก็พ่ายแพ้ทั้งทีม
เราไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้ โดยการทำงานเพียงคนเดียว ทุกความสำเร็จล้วนเกิดจากการทำงานร่วมกัน
* จิตสำนึกนักวิ่งผลัด
1) รับไม้ให้ดีที่สุด
2) วิ่งในเส้นทางของตัวเองให้ดีที่สุด
3) ส่งไม้ให้ดีที่สุด
* 3 คำเพื่อความเป็นทีม
ดีใจด้วย
ขอโทษ
ไม่เป็นไร
‪#‎บทเรียนจากรถไฟชินคันเซ็น‬
ในตอนเริ่มต้นการก่อสร้างรถไฟชินคันเซ็นที่ประเทศญี่ปุ่น วิศวกรต่างทุ่มเทความคิดของการทำให้หัวรถจักรวิ่งได้เร็วที่สุด แต่ก็ต้องประสบปัญหากับความเร็วที่ลดลงจากการที่ต้องมีแรงฉุดลากจากโบกี้. แล้วก็มีวิศวกรคนนึงคิดว่า ทำไมต้องมีโบกี้ ทำไมเราไม่ให้ตู้รถไฟทุกตู้เป็นหัวรถจักรล่ะ เมื่อแต่ละตู้ต่างวิ่งด้วยความเร็วที่เท่ากัน ก็ไม่มีแรงฉุดใดๆ รถไฟก็จะวิ่งได้ความเร็วสูงมากตามที่ต้องการได้
ในชีวิตการอยู่ร่วมกันของเรา จุดเชื่อมต่อของรถไฟแต่ละขบวนที่ทำให้ทุกขบวนยังคงเกาะเกี่ยวและวิ่งไปพร้อมๆกันก็คือคำว่า
"ความเข้าใจ"

ที่มา
[1] https://www.facebook.com/pui.pornchai/posts/10153544383112360