วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Active sale คืออะไร


การขายสินค้า และ บริการ เป็นหัวใจของกิจการทั้งหลาย เพราะ เป็นการอัด 
ฉีดรายรับให้กับกิจการ เช่น การขายสินค้าแบบ PASSIVE SALE เช่น การเอาสินค้า 
มาวางไว้ แล้วรอคนมาซื้อ บางครั้งมันก็ไม่ง่ายนัก ยิ่งเป็นสินค้าที่ คนไม่สนใจ 
เป็นพิเศษ หรือ มีความจำเป็นต่อชีวิตของคนเรา สินค้าเหล่านั้นยิ่งไม่สามารถ 
จะเพิ่มยอดขายได้ง่ายๆ ถ้าสินค้าเหล่านั้นมี ค่าเสื่อม, วันหมดอายุ, หรือ 
ล้าสมัย ได้ยิ่งนักเลย กลายเป็น ต้นทุนทางธุรกิจระยะยาวได้ง่ายๆ!!!  

ขณะเดียวกัน... 
เจ้าของกิจการบางคน อาจต้องการเพิ่มยอดขายโดย การทำการผลักดันยอด 
ขาย แบบ ACTIVE SALE ด้วยการทำ Direct Sale กล่าวคือ หาทางเพิ่มยอด 
ขายโดยการ จ้างนักขายมาหาลูกค้า แล้ว ทำการสาธิต หรือ บรรยายให้ 
ลูกค้าฟัง 

ทำนองว่า... 
"คุณจะทำยังไงก็ได้ ขอให้ปิดยอดขายให้ได้ก็แล้วกัน!!!"  

บ่อยครั้งที่ คนซื้อมุ่งหวังเหล่านั้น เค้าก็ไม่ได้สนใจ แต่ก็ทนฟังเรื่องราวที่ 
เป็นจิตวิทยาการขาย ของบรรดานักขายตรงเหล่านั้นไม่ไหว อีกนัยนึง ก็คือ 
ถูกยัดเยียดสินค้าให้ซื้อ ราวกับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น หรือ วิเศษซะเหลือเกิน 
ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า คุณต้องพิจารณากันเองว่า ในชีวิตคุณมีสินค้าอะไร 
บ้างที่เคยซื้อมาด้วยวิธีการแบบนนี้?  

แน่นอน...กลยุทธในการทำธุรกิจของแต่ละกิจการอาจแตกต่างกันไป แต่ 
เป้าหมายนั้นคงไม่ต่างกัน คือ หารายได้ให้กับกิจการเติบโตต่อไปนั่นเอง!!

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ลักยึดปฏิบัติ 10 ของ google

สโลแกนอย่างไม่เป็นทางการที่พนักงานกูเกิ้ลพูดติดปากก็คือ “Don’t be evil” แม้ว่าคำนี้จะไม่ปรากฏอยู่ในรายการหลักยึดปฏิบัติที่ประกาศออกมาเป็นทางการของบริษัท แต่มันก็ปรากฏอยู่ในหนังสือชี้ชวนเมื่อกูเกิ้ลประกาศ IPO ในปี 2004 ในหัวข้อสารจากผู้ก่อตั้งบริษัทว่า "Don’t be evil. We believe strongly that in the long term, we will be better served — as shareholders and in all other ways — by a company that does good things for the world even if we forgo some short term gains." ผู้เขียนเห็นด้วยกับแนวความคิดนี้ เพราะไม่มีองค์กรใดที่ยั่งยืนและเจริญงอกงามได้ หากไม่ได้มุ่งเน้นทำสิ่งแวดล้อมที่ตนดำรงอยู่ ไล่ไปตั้งแต่ สังคม ลูกค้า ลูกจ้าง ไปจนถึงเจ้าของ ไม่ต่างกับหลักการเดียวกับระบบนิเวศวิทยาที่สิ่งที่ไม่มีประโยชน์ต่อระบบ หากไม่ทำให้ทั้งระบบล่ม ก็คงต้องเสื่อมหรือถูกกำจัดทำลายไปเพื่อความอยู่รอดของระบบอย่างแน่นอน นอกจากนี้กูเกิ้ลยังมีหลักยึดปฏิบัติ 10 ประการที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจจึงขอนำมาแชร์ดังนี้
  1. ยึดผู้ใช้เป็นหลักแล้วสิ่งอื่น ๆ จะตามมา กูเกิ้ลเน้นที่การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ เน้นการใช้งานที่ง่าย ยึดผลประโยชน์ของผู้ใช้เป็นที่ตั้ง ซึ่งจะเห็นว่ากูเกิ้ลเน้นที่ผู้ใช้ ไม่ใช่ลูกค้า เพราะผู้ใช้คือต้นกำเนิดแห่งธุรกิจทั้งมวล เมื่อผู้ใช้พอใจ ลูกค้าของกูเกิ้ลก็จะทำเงินได้มาก และส่งผลต่อกำไรอันงดงามแต่บริษัท ผู้เขียนมองเห็นบริษัทมากมายที่พลาดไปทุ่มทุกอย่างที่ลูกค้า เช่นตัวแทนจำหน่าย แต่มองข้าม ผู้ใช้ หรือ End Consumer ว่าเขาใช้สินค้าแล้วมีความพอใจหรือไม่ หรือเขากำลังรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งหรือเอาเปรียบ และสุดท้ายเมื่อผู้ใช้บอกลาสินค้า ทั้งระบบก็จบ
  2.  ทำแค่อย่างเดียวให้ดีมาก ๆ นั่นแหล่ะดีที่สุด กูเกิ้ลมีทีมวิจัยเกี่ยวกับสืบค้นข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อทำการค้นคว้าอย่างจริงจังถึงวิธีที่ดีที่สุดในการทำ Search Engine ผู้เขียนเคยอ่านประวัติของผู้ก่อตั้งว่าในสมัยที่กูเกิ้ลเพิ่งเริ่มตั้งไข่ ผู้ก่อตั้งได้เคยสัมภาษณ์ผู้บริหารของ Yahoo หรือ Search Engine ยักษ์ใหญ่หลายรายที่กำลังเฟื่องฟูในขณะนั้นแล้วพบว่า จริง ๆ แล้
    วพวกเขา ไม่ได้เน้นที่ธุรกิจค้นหาข้อมูล ล้วนแต่มองไปที่การเป็น Web Portal และนั่นคือช่องทางให้ Larry Page และ Sergey Brin ตัดสินใจว่าเขาจะเป็นที่หนึ่งในการสืบค้นข้อมูลให้ได้และเขาก็ทำได้จริง
  3. เร็วย่อมดีกว่าช้า กูเกิ้ลทราบดีกว่าลูกค้าต้องการหาข้อมูลให้ตรงและเร็ว จึงอาจเป็นบริษัทเดียวในโลกในการตั้งเป้าระบบค้นหาของบริษัทว่าจะต้องช่วย ให้ผู้ใช้เข้ามาใช้เว็บแล้วออกไปจากเว็บให้เร็วที่สุด ผู้เขียนก็เฝ้ารอบริษัทในประเทศไทยหลายบริษัทให้มีแนวความคิดเช่นเดียวกัน นี้ เช่นระบบคอลเซนเตอร์ที่ทิ้งให้ลูกค้าคุยกับคอมพิวเตอร์หรือฟังโฆษณาและไม่ ได้คุยกับพนักงานเพื่อสอบถามในสิ่งที่ต้องการในทันที หรือ ศูนย์บริการที่ไม่พอเพียงจ่ายบิลทีไรต้องนั่งรอจนเผลอหลับ
  4. ประชาธิปไตยในเว็บสามารถใช้งานได้ กูเกิ้ลใช้หลักประชาธิปไตยในการกำหนดอันดับของเว็บที่จะแสดงขึ้นเมื่อผู้ใช้ ค้นหาตามคีย์เวิร์ด ผ่านระบบที่เรียกว่า Page Rank ซึ่งเหมือนเป็นกลไกการนับคะแนนว่าเว็บอื่น ๆ โหวตให้หน้าเพจไหนเป็นตัวแทนของคีย์เวิร์ดนั้นๆ ซึ่งต่างกับระบบค้นหาเวปของค่ายอื่นที่นับที่จำนวนคำในเพจหรือแย่ไปกว่านั้น คือใครจ่ายให้มากก็ได้อันดับต้นๆไป ผู้เขียนเชื่อในประชาธิปไตยว่ามันเป็นหนทางเดียวที่จะบริหารให้ผู้อยู่ใน ระบบได้รับมูลค่าดีดีอย่างเสมอภาค จึงเห็นด้วยกับวิธีการของกูเกิ้ลเป็นอย่างมาก
  5. คุณไม่จำเป็นต้องอยู่ที่โต๊ะทำงานเพื่อค้นหาคำตอบ กูเกิ้ลมองว่าโลกทุกวันนี้เคลื่อนตัวมากขึ้น จึงขยายบริการของตนให้สามารถสนับสนุนการเคลื่อนที่ของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูล เช็คอีเมล์ หรือ ดูวีดีโอ ให้สามารถทำผ่านมือถือได้มากขึ้น เปรียบเหมือนกิจการอื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์ ที่ผู้เขียนมองหากิจการที่เอื้อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกิจได้ทุกที่และเวลาที่ ต้องการ ไม่ว่าจะผ่านระบบมือถือ หรือจำนวนสาขาที่มาก หรือทำเลที่เหมาะสม หรือ ระบบการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุมก็ตาม
  6. หาเงินได้โดยไม่ต้องทำสิ่งไม่ดี Google เป็นธุรกิจที่มีรายได้จากการเสนอเทคโนโลยีการค้นหาให้แก่บริษัทต่างๆ และจากการขายโฆษณาที่ปรากฏบนไซต์ของตน ตลอดจนไซต์อื่นๆ บนเว็บ แต่บริษัทก็มีข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อควบคุมไม่ให้บริการเหล่านี้ไปส่งผลเสียหรือกระทบให้คุณภาพบริการที่ผู้ ใช้ได้รับนั้นด้อยลงอย่างเด็ดขาด เช่นแสดงผลข้อมูลจาก Page Rank, มีข้อความบอกชัดเจนว่านี่คือโฆษณา หรือ ไม่อนุญาตให้ลงโฆษณาที่สร้างความรำคาญให้ผู้ใช้ เช่น Pop-Up ต่างๆ
  7. ข้อมูลใหม่ ๆ เกิดขึ้นเสมอ กูเกิ้ลพยายามค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจไม่สามารถหาเจอในคราวแรก แต่วิศวกรของกูเกิ้ลต้องพัฒนาความสามารถในการค้นหาข้อมูลให้ลึกขึ้นเพื่อ บริการผู้ใช้ เช่น เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ ซึ่งจุดนี้กูเกิ้ลพยายามทำหน้าที่ของเขา แม้ว่ามันอาจเสี่ยงเรื่องความเป็นส่วนตัว ซึ่งเราในฐานะผู้ใช้ก็ต้องระวังเวลาโพสอะไรไว้บนเน็ตบ้างเหมือนกัน
  8. ผู้คนในทุกแห่งต้องการข้อมูลเหมือนกัน แม้ว่าจะก่อตั้งในอเมริกา แต่กูเกิ้ลก็มีสำนักงานอยู่ทั่วโลกในกว่า 60 ประเทศ สามารถรองรับการค้นหาและใช้ภาษาต่าง ๆ ได้กว่า 130 ภาษา ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้กว้างขึ้น รวมไปถึงหาข้อมูลที่อยู่ในภาษาที่ตนไม่เข้าใจ ผ่านระบบการแปลภาษาของกูเกิ้ล
  9. คุณสามารถจริงจังได้โดยไม่ใส่สูท กูเกิ้ลเชื่อว่าบรรยากาศการทำงานที่ดีควรท้าทายให้ทีมงานได้คิด สร้างสร้างผ่านการเล่นและใช้ชีวิต เมื่อมีไอเดียใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในระหว่างเข้าแถวรอซื้อกาแฟ หรือ เล่นกีฬา พนักงานต้องมีเวทีให้ทดลองไอเดียนั้นทันที
  10. ถึงจะดีมากแต่ยังดีไม่พอ การเป็นเลิศในด้านใดด้านหนึ่งเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ไม่ใช่จุดสิ้นสุด กูเกิ้ลมักตั้งเป้าหมายที่ยากจะบรรลุ แต่การตั้งเป้าหมายแบบนี้ทำให้ทีมงานทุ่มเทเต็มที่และได้ผลลัพธ์ดีกว่าคาด เสมอ ความคิดสร้างสรรค์ช่วยได้มาก เช่น การเชื่อว่าการสะกดคำให้ถูกต้องจะช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ดีขึ้น ได้นำไปสู่โปรแกรมช่วยสะกดคำของกูเกิ้ลที่นำความพึงพอใจและความสะดวกสบายมา ให้แก่ผู้ใช้

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประสิทธิผล (Effectiveness) และ ประสิทธิภาพ (Efficiency) เรื่องที่ต้องคิดตลอดเวลาเมื่อทำธุรกิจ

ประสิทธิผล (Effectiveness) และ ประสิทธิภาพ (Efficiency) เป็นคำสองคำที่เราควรนึกถึงเสมอไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่มักจะมองไปที่ประสิทธิผลกันก่อน เพราะประสิทธิผลนั้นคือ การทำงานที่มุ่งบรรลุเป้าหมายเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องการ แต่ถ้าหากอยากเป็นผู้ชนะอย่างแท้จริง เราต้องมองต่อไปถึงขั้นที่เหนือกว่านั้นคือ ประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงการทำงานที่บรรลุเป้าหมาย ด้วยการมุ่ง ใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด หรือผลิตของเสียออกมาให้น้อยที่สุด

จะเห็นว่า ประสิทธิผลนั้นขั้นสุดของมันก็คือทำงานสำเร็จ แต่ประสิทธิภาพนั้นไม่มีที่สิ้นสุด คือเราหาทางตั้งเป้าหมายที่ท้าทายเราได้มากขึ้นเรื่อยๆ และสำหรับการดำรงชีวิตหรืองานการเป็นนักลงทุน เราก็ไม่ควรมองแค่ประสิทธิผล คือ แค่ทำงานให้เสร็จ หรือลงทุนให้ได้กำไร แต่ควรจะมองประสิทธิภาพด้วย เราใช้ทรัพยากรได้น้อยลงหรือไม่
  • เช่นเราสามารถลดค่าใช้จ่ายจำพวกค่าคอมมิสชั่น หรือ ค่าใช้จ่ายเดินทาง หรือการใช้เวลาในการหาข้อมูลได้น้อยลงหรือไม่ หรือ เราผลิตของเสียออกมาน้อยลงเพียงใด เช่นจำนวนการลงทุนที่ผิดพลาดต่อปี อย่าได้มองเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กน้อย เงินค่าคอมมิสชั่นเพียง 1 บาทที่ประหยัดได้ในปีนี้ หากเรานำไปลงทุนต่อในพอร์ตของเรามีมีผลตอบแทนเฉลี่ย 20% ต่อปี ในอีก 20 ปีข้างหน้าจะกลายเป็น 38 บาท หรือเพิ่มขึ้น 3700% 
  • หรือ เวลาที่เราสูญเสียไปในการเดินทางและการติดอยู่บนท้องถนนตอนเช้า 2 ชั่วโมง ตอนเย็นอีก 2 ชั่วโมง รวมแล้ววันละ 4 ชั่วโมง ทำงานเดือนละ 22 วัน เท่ากับว่าเราสูญเสียชีวิตอันมีค่าของเราไปปีละ 1056 ชั่วโมง หรือ 44 วันต่อปี หรือเกือบ 2 เดือน ตกลงเราใช้ชีวิตจริงๆอยู่แค่ 10 เดือนต่อปีเท่านั้น หากมองในมุมเหล่านี้ 
จะเห็นว่าการพัฒนาประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แต่เป็นสิ่งดีดีที่ช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตเราให้ดีขึ้นอย่างคาดไม่ถึงเลยที เดียว

แต่อย่างไรก็ตามในบางงานก็เน้นประสิทธิผลมากกว่าประสิทธิภาพ เช่นขายสินค้าราคาแพงๆ ให้ลูกค้าระดับครีม เขาจ่ายเงินแพงเท่าไรไม่ว่าขอให้ถูกใจ ถ้าแบบนี้ก็ทำทุกวิถีทางให้บรรลุเป้าหมายให้ได้แล้วกันรับรองรวย

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิธีดูว่าขายตรงที่ทำอยู่ มั่นคงหรือไม่


วิธีง่ายๆในการสังเกตุว่าขายตรงที่คุณทำอยู่นั้น มั่นคงหรือไม่ หรือสิ่งที่ทำไปจะเหนื่อยฟรี

  • ในบริษัททุกๆบริษัทขายตรงจะมีคนอยู่สองประเภทคือคนอยากได้เงินกับคนอยากได้สินค้า ถ้าคนอยากได้เงินมากกว่าคนอยากได้สินค้าบ.นั้นอยู่ยาก
  • มองดูใต้องค์กรของคุณว่าส่วนมากมีคนประเภทใดอยากได้เงินหรืออยากได้สินค้า หากมีแต่คนอยากได้เงินบอกตรงๆองค์กรคุณอยู่ยาก
  • หากแผนการตลาดมีต้องมีการรักษายอดเพื่อที่จะรับรายได้(ไบนารี่)ลองดูว่าส่วนมากรักษายอดหรือไม่ การรักษายอดเป็นอย่างไร หากพบว่าใต้องค์กรของคุณส่วนมากไม่มีการรักษายอด แสดงว่าสินค้าไม่มีคุณภาพพอที่จะซื้อซ้ำในราคาที่สูง เท่ากับว่าคุณกำลังตักน้ำใส่โอ่งที่รั่วทำอย่างไรก็ไม่มีวันเต็ม
  •  ลองถามตัวเองดูว่าสินค้านี้ถ้าใช้แล้วไม่ได้เงินหรือใช้โดยไม่ได้ทำธุรกิจ จะใช้มันไหม ถ้าคำตอบว่าใช่ผมว่าคุณมาถูกทางแล้วครับ
  • หากเราหยุดทำดาวไลท์ของเราสามารถซื้อสินค้าได้หรือไม่ หรือหากอัพไลท์เราหยุดแล้วเราสามารถที่จะซื้อของได้หรือไม่ บ.ขายตรงที่น่าทำควรมีหลายสาขาโดย บ.เป็นผู้เปิดเพื่อการันตีความมั่นคงว่าเมื่อเราหยุด ดาวไลท์หรือลูกค้าของเราสามารถที่จะบริโภคสินค้าอย่างต่อเนื่องได้
  • หากมีดาวไลท์เกินหกคนลองดูว่ามีกี่คนที่สามามารถจะอธิบายสินค้าแผนการตลาดได้กี่คน บริษัทหรือองค์กรณ์ที่ดีควรจะมีการอบรมที่ดีสามารถถ่ายทอดให้คนที่ตามมามีความรู้ในการตอบข้อโต้แย้งแนะแนะนำสินค้าให้กับลูกค้าได้ดี


วิจารณ์กากๆโดย
มังกรหยก สำนักข่าววางเพลิง
https://www.facebook.com/flamenews/posts/378665865535511