วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

VDO สอนวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

ธนเดช มหโภไคย ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ให้มุมมองเรื่อง "ความสำคัญของอัตราส่วนทางการเงิน" ไว้ในรายการ Smart Money ดังนี้

ความสำคัญของอัตราส่วนทางการเงิน


การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน งบการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ถ้าจะเอาเพียงตัวเลขมามันไม่นิ่ง และกิจการที่มีความแตกต่างกันก็ดูยาก// ควรย่อยตัวเลขในงบให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ

การวัดมี 3 แบบ (เปอร์เซ็นต์, สัดส่วน, ดัชนี) แต่ที่นิยมและมีประสิทธิภาพคืออัตราส่วนทางการเงิน

แนวคิดของอัตราส่วนทางการเงินคือวิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ


ประโยชน์วิเคราะห์งบด้วยอัตราส่วน


ประโยชน์ของการวิเคราะห์งบด้วยอัตราส่วนคือปรับตัวเลขในงบการเงินให้เป็นค่ามาตรฐานเ
เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ งวดนี้-งวดก่อน, ปีนี้-ปีก่อน เป็นการหาพัฒนาการของกิจการว่ามีอะไรดีขึ้น และหา The Winner ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน

อัตราส่วนทางการเงินชุดแรกที่มีความสำคัญมากที่สุดและนักลงทุนส่วนใหญ่อยากดูคือ
  1. อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน (Profitability ratios) 
  2. อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ (Activity ratios)
  3. อัตราส่วนความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage ratios)  
  4. อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity ratios)
  5. Dupont System


ชุดที่ 1: อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน


ชุดนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือกำไร+ผลตอบแทน// อัตราส่วนกำไร (ดูประสิทธิภาพภายในกิจการ คือ อัตราส่วนกำไรขั้นต้น+อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน

แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ชอบดู อัตราส่วนกำไรสุทธิ เพราะเชื่อว่าบอกความเก่งความสามารถ แต่อ.ธนเดชมองว่าดูไม่ได้ชัดเจนนัก เป็นเพียงกำไรจากกิจการที่เหลืออยู่ น้ำหนักน้อยกว่ากำไรจากการดำเนินงาน)



อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรเป็นตัวดูว่าค้าขายอย่างไร// ในฐานะนักลงทุนควรดูว่าเงินลงทุนของบริษัทเอาไปใช้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน

อีกตัวหนึ่งที่เราจะมาพูดคุยกันต่อก็คือ อัตราผลตอบแทน (อัตราผลตอบแทนจากการใช้สินทรัพย์ ดูว่าสร้างรายได้, กำไร, ผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหน...บางคนเรียกว่าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งควรให้น้ำหนักสูงในการประเมินบริษัท และผลตอบแทนควรมากกว่าต้นทุนการกู้ 2% ขึ้นไป

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สำคัญมากที่สุดในมุมมองของผู้ถือหุ้น โดยดูว่าจากเงินลงทุนที่ผู้ถือหุ้นลงทุนในแต่ละปี ผู้บริหารสร้างผลตอบแทนให้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งสูง-ยิ่งดี...out perform 30%, ดี 20%, พอใช้ 15%)

ชุดที่ 2: อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์


อัตราส่วนทางการเงินหลายชุดก็เปรียบเสมือนการดูหนังที่มีพระเอก (อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน), พระรอง, ผู้ร้าย และตัวประกอบ (อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์) สำหรับคู่ที่ 1 ใช้ดูว่าสามารถใช้ประโยชน์สินทรัพย์ที่ลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน (ดี-ไม่ดี) เพราะถ้าดี กำไรและผลตอบแทนย่อมดีด้วย

อัตราการหมุนของลูกหนี้การค้า ยิ่งสูง-ยิ่งดี// ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ (ดูประกอบกัน) โดยธุรกิจทั่วไปมักมีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บหนี้กับลูกหนี้การค้าบ่อยที่สุด ซึ่งอัตราส่วนคู่นี้เป็นตัววัดเฉพาะ


คู่ที่ 2 อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (ใช้ต้นทุนขายไม่ใช่ยอดขาย เพราะยอดขายคือต้นทุน+กำไร ซึ่งสินค้าคงเหลือคือต้นทุน)

ระยะ เวลาเก็บรักษาสินค้าคงเหลือ (สะท้อนว่าตามเกณฑ์แล้วธุรกิจควรมีเก็บ Stock ไว้นานเท่าไหร่) โดยส่วนนี้ธุรกิจทั่วไปมักมีปัญหาเช่นกัน ซึ่งคู่นี้จะสะท้อนปัญหาที่ถูกแฝงไว้ เช่นถ้าลูกหนี้เพิ่มขึ้นแล้วการสำรองหนี้ต้องเพิ่มขึ้น และในอนาคตต้องเก็บมากขึ้น ทำให้สินค้าด้อยค่าเพิ่มขึ้น



อัตราการหมุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (คือสินทรัพย์ที่ธุรกิจใช้ดำเนินงาน สร้างรายได้หรือยอดขายได้เท่าไหร่ สูงดีกว่าต่ำ)// อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม (คือภาพรวมใหญ่ ดูว่าสินทรัพย์ก่อให้เกิดยอดขาย, รายได้ มากน้อยแค่ไหน ต้องสูงกว่า 1 ยิ่งมากยิ่งดี)

ชุดที่ 3: อัตราส่วนเกี่ยวกับภาระหนี้

ในแง่ของการลงทุน เราต้องผูกพันกับกิจการนี้ในระยะยาวพอสมควร เพราะฉะนั้นความมั่นคงของกิจการต้องมี กู้มากไปก็ไม่ดี-ไม่กู้เลยก็ไม่ดี

อัตรา ส่วนแห่งหนี้ (วัดว่ากิจการที่ลงทุนนั้น สินทรัพย์ทั้งหมดก่อหนี้มาก-น้อยอย่างไร โดยวัดจากเจ้าหนี้...หากทำกำไรได้เยอะแต่ก่อหนี้เยอะก็ไม่ใช่-ยิ่งถ้าทำกำไร ได้น้อยแ
­ล้วกู้เยอะยิ่งเสี่ยง)

อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ดูสัดส่วนการใช้เงินระหว่างเจ้าของกับเจ้าหนี้)


อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (อธิบายความสามารถในการทำกำไรจากยอดขายว่าเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยที่ต้อง จ่าย ถ้าทำได้เยอะก็สบาย แสดงว่ามีศักยภาพในการจ่ายดอกเบี้ยแน่นอน แต่ก็ไม่ควรมีมากเกินไป ทั้งนี้มีเกณฑ์ว่าขั้นต่ำไม่ควรน้อยกว่า 3 จะตั้งไว้ 4-5 เท่าก็ได้เพื่อรับความผันผวน)

ชุดที่ 4: อัตราส่วนสภาพคล่อง

เนื่องจากการค้าขายมีความไม่แน่นอนดังนั้นเราต้องมีการประเมินสภาพคล่องด้วย เพื่อสะท้อนความสามารถในการจ่ายหนี้ และดูรายจ่ายปกติ

อัตราส่วน เงินทุนหมุนเวียน สะท้อนว่าถ้าธุรกิจการค้าสะดุด จะมีปัญหาการจ่ายหนี้ระยะสั้นหรือไม่ถ้า มากกว่า1 (พอรับได้), 1.5 (ค่าเหมาะสม), แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป เพราะสะท้อนว่ามีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อรายได้แอบแฝง

อัตราส่วนสินทรัพย์ คล่องตัว อ.ธนเดช มองว่าไม่ใช่ทุกรายการที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดเท่ากัน แต่สินค้าเปลี่ยนเป็นสภาพคล่องได้เร็ว ซึ่งดอัตราส่วนนี้ละทิ้งไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะที่มีความไม่แน่นอน

ชุดที่ 5: Dupont System 

 ROE สูตรเดิมไม่มีมิติมุมมองเชิงลึก เพราะฉะนั้นถ้าต้องการมองเชิงลึกสามารถแตกรายละเอียดได้ โดยแยก ROE เป็นส่วนๆ เพื่อวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อสะท้อนว่า ROE ที่ขึ้นและลง เกิดจากส่วนไหน และทำให้สามารถ forecast ต่อได้ว่าอนาคตข้างหน้า ROE จะเป็นอย่างไร






เมื่อนำอัตราส่วนทั้งหมด มายำเป็นรูปเดียวสรุปได้ว่า
สรุปอัตราส่วนทางการเงิน

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Balance Score Card คืออะไร

เครื่องมือ ที่เพิ่งได้รับการยอมรับแพร่หลายเมื่อราว 10 กว่าปีมานี้ ดูความสมดุลย์ทั้งภายในกิจการและนอกกิจการ แล้วให้คะแนนวัดผล แล้วนำมาเขียนเป็นแผนที่ยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขันได้ จึงเรียกว่า Balance Score Card ขนาดเรื่องของ "คน" เมื่อก่อนแทบจะมองเป็นเครื่องจักร ถึงขั้นมีการแนะนำว่า อยากรุ่ง ต้องรู้จักเรียนรู้ "อูฐ หมา ปลา ควาย" เป็นอย่างไร เครื่องมือนี้ก็ดูด้วย ในฐานะกลไกที่ช่วยผลักดันกิจการ โดยอยู่ในส่วนของ L&G (learning & Growth)

 หลักการทั่วไป


แต่ละด้าน ต้องวัด มีน้ำหนัก ให้คะแนนผลการวัด มีการทบทวนปรับปรุงแก้ไข ที่เป็น Subjective คือเชิงปริมาณ พยายามวัดให้เป็นเชิงตัวเลข เหมือนเราให้คะแนนความดีความงาม จะช่วยให้มองภาพ และเปรียบเทียบ "พื้นฐานกิจการ" ได้ดีขึ้น
 ที่บอกว่า "นำมาเขียนเป็นแผนที่ยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขันได้" จะได้ไม่เพ้อฝัน
ตัวอย่างทั่วไป
ตัวอย่างลึกไปอีกหน่อย

อีกซักตัวอย่าง

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทำธุรกิจต้องรู้จักจุดคุ้มทุน

ทำธุรกิจต้องรู้จัก"จุดคุ้มทุน" ครับไม่รู้จักตายแน่นอน สูตรก็ง่ายๆ

จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ / (ราคาขายต่อหน่วย - ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย) .......(1)

โดยที่
ต้นทุนคงที่ (fixed cost) คือค่าใช้จ่ายที่คงที่ไม่แปรไปตามยอดขาย ถึงปิดร้านค่าใช้จ่ายตัวนี้ก็วิ่งทุกวัน เช่นค่าเช่าที่เขาคิดเป็นรายเดือน วันไหนเราขี้เกียจทำปิดร้านไปเที่ยวแต่ค่าเช่าไม่หยุดครับ

ต้นทุนแปรผัน (variable cost) คือต้นทุนก็วิ่งตามยอดขาย

ตัวอย่าง
นาง "ก" เอาเงินเก็บทั้งชีวิตเปิดร้านกาแฟเล็กๆนั่งชิวๆ แต่งร้านเก๋ๆ หมดเงินไป 400,000 บาท สมมติเดือนๆนึ่งมีค่าใช้จ่ายคงที่ดังนี้
  • ค่าเช่าที่          15,000 บาท/เดือน
  • ค่าจ้างพนักงาน 9,000 บาท/เดือน
  • ค่าน้ำ ค่าไฟ     2,000 บาท/เดือน
  • ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (ค่าเดินทางมาทร้าน ค่ากิน ค่า....ฯลฯ) 9,000/เดือน
  • รวม 35,000 บาท
แถวร้านมีคู่แข่งเยอะตั้งราคาขายแก้วละ 45 บาท
และต้นทุนผันแปร (กาแฟ, นม,น้ำแข็ง) ตกแก้วละ 20

สรุปว่าถ้าอยากอยู่รอดก็ต้องขายให้ได้
จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ / (ราคาขายต่อหน่วย - ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย)
= 35,000/(45-20)
= 1,400 แก้วต่อเดือน หรือคิดเป็น 1,400/30 = 47 แก้วต่อวัน

ถ้าวันๆนึงขายได้ปริ่มๆก็แสดงว่าทั้งเดือนเหนื่อยฟรีทำงานเลี้ยงค่าเช่า ลูกน้อง ค่าน้ำ ค่าไฟไป 

ปัญหาส่วนใหญ่ที่เจ้งๆกันก็คือไม่รู้จักจุดคุ้มทุนของร้านตัวเอง และส่วนใหญ่ควบคุมต้นทุนไม่ได้มาทำจริงสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ หรือมีการผลิตที่ผิดพลาด เช่นทำกาแฟผิด order ให้ลูกค้าต้องทำใหม่ เราเสียต้นทุนแก้วนั้นไปแล้ว 20 บาท และร้านเรากำไรแก้วละ 45-20=25 บาท เท่ากับว่าเราเสียไปฟรีๆ 2 แก้ว

โชคดีมีชัยครับ