การบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ผู้บริหารต้องเข้าใจ Customer Value, Product Value, และ Value Chain
Customer Value หรือ "คุณค่าที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคต้องการหรือปราถนา"เป็นสิ่งแรกๆที่ผู้บริหารธุรกิจจะต้อง"เข้าใจให้ได้ อ่านให้ออก ตีให้แตก" ผู้บริหารต้องเข้าใจก่อนว่า "ทำไมลูกค้าหรือผู้บริโภค ถึงอยากได้สินค้า/บริการนั้นๆ เขายอมเสียเงินไปเพื่อเหตุผลใด อะไรกันแน่คือสิ่งที่เขาค้นหา"ลูกค้าให้ "Value" กับเรื่องไหน เช่น "ความสะดวก ความปลอดภัย ความทนทาน ความทันสมัย ความสมกับฐานะหรือวัยของเขา" คือ โจทย์ในการเริ่มบริหารจัดการ
เมื่อเข้าใจ Customer Valueแล้ว ต้องประเมิน Product Valueหรือ"คุณค่าในตัวสินค้าของบริษัท" ว่าตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือไม่ มากน้อยแค่ไหนองค์ประกอบเช่น ดีไซน์ สีสัน ฟังก์ชันการใช้งาน เทคโนโลยีต่างๆที่ใช้ คุณภาพรวมถึงปัจจัยอื่นๆของสินค้าที่แท้เป็นส่วนปลีกย่อยของ "Product Value"ส่วนผสมต่างๆในตัวสินค้า/บริการที่ลงตัว จน "Product Value" ตรงกับ "Customer Value" จะส่งผลให้ สินค้า/บริการเป็นที่นิยม สามารถแข่งขันในตลาดได้
เมื่อบริษัทหรือผู้บริหารเข้าใจ เข้าถึงในช่องว่างระหว่าง"Customer Value"กับ"Product Value"แล้ว ก็มาถึงการปรับปรุงหรือบริหารจัดการ Value Chain หรือที่แปลกันว่า"โซ่คุณค่า"แท้ที่จริงแล้วก็คือกิจกรรมหรือการทำงานต่างๆ ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการสร้างคุณค่าให้กับสินค้า/บริการสินค้าหรือบริการหนึ่งๆ จะมีคุณค่า "Product Value" ดีหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน เกิดจากหลายๆปัจจัย หรือกิจกรรมการทำงานในหลายๆด้าน หลายๆฟังก์ชันงานโดยการทำงานที่ส่งผลต่อ Product Valueก็อย่างเช่น การผลิตที่ดีที่ถูกที่ทันสมัย การส่งสินค้าที่รวดเร็วทันใจ การบริการต่างๆที่น่าประทับใจเป็นต้น
สำหรับ Value Chain ในตำราเรียนแล้ว ได้ระบุกิจกรรมการทำงาน(ฟังก์ชัน)ที่เกี่่ยวข้องสัมพันธ์กับการสร้างคุณค่าProduct Value ไว้ด้วยกัน 9 กิจกรรมซึ่งทั้ง 9 กิจกรรมการทำงานใน Value Chain ล้วนส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ Product Value ที่สำคัญกิจกรรมทั้ง 9 สัมพันธ์กัน กระทบซึ่งกันและกันกิจกรรม Value Chain ทั้ง 9 ได้แก่ การผลิต การขาย/การตลาด การบริการลูกค้า โลจิสติกส์เข้าออก งานสนับสนุนเช่น การจัดหาวัตถุดิบ ICT Admin HRM
Value Chain Analysis |
มิติในการบริหาร Value Chain ก็จะพยายามวิเคราะห์และพัฒนากิจกรรมทั้ง 9 ให้สอดคล้องกันเพื่อสร้าง Product Value ให้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการนั้นเองโดยสรุป ผู้บริหารต้องเข้าใจ Customer Value จากนั้นพิจารณา Product Value ของตน เพื่อปรับปรุงและบริหารกิจกรรมทั้ง 9 ของ Value Chain ให้ดีขึ้น
ที่มา: พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล, facebook
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น