ความสำคัญของอัตราส่วนทางการเงิน
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน งบการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ถ้าจะเอาเพียงตัวเลขมามันไม่นิ่ง และกิจการที่มีความแตกต่างกันก็ดูยาก// ควรย่อยตัวเลขในงบให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ
การวัดมี 3 แบบ (เปอร์เซ็นต์, สัดส่วน, ดัชนี) แต่ที่นิยมและมีประสิทธิภาพคืออัตราส่วนทางการเงิน
แนวคิดของอัตราส่วนทางการเงินคือวิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
ประโยชน์วิเคราะห์งบด้วยอัตราส่วน
ประโยชน์ของการวิเคราะห์งบด้วยอัตราส่วนคือปรับตัวเลขในงบการเงินให้เป็นค่ามาตรฐานเ
เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ งวดนี้-งวดก่อน, ปีนี้-ปีก่อน เป็นการหาพัฒนาการของกิจการว่ามีอะไรดีขึ้น และหา The Winner
ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
อัตราส่วนทางการเงินชุดแรกที่มีความสำคัญมากที่สุดและนักลงทุนส่วนใหญ่อยากดูคือ
ชุดนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือกำไร+ผลตอบแทน// อัตราส่วนกำไร (ดูประสิทธิภาพภายในกิจการ คือ อัตราส่วนกำไรขั้นต้น+อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน
แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ชอบดู อัตราส่วนกำไรสุทธิ เพราะเชื่อว่าบอกความเก่งความสามารถ แต่อ.ธนเดชมองว่าดูไม่ได้ชัดเจนนัก เป็นเพียงกำไรจากกิจการที่เหลืออยู่ น้ำหนักน้อยกว่ากำไรจากการดำเนินงาน)
อัตราส่วนทางการเงินชุดแรกที่มีความสำคัญมากที่สุดและนักลงทุนส่วนใหญ่อยากดูคือ
- อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน (Profitability ratios)
- อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ (Activity ratios)
- อัตราส่วนความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage ratios)
- อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity ratios)
- Dupont System
ชุดที่ 1: อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน
ชุดนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือกำไร+ผลตอบแทน// อัตราส่วนกำไร (ดูประสิทธิภาพภายในกิจการ คือ อัตราส่วนกำไรขั้นต้น+อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน
แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ชอบดู อัตราส่วนกำไรสุทธิ เพราะเชื่อว่าบอกความเก่งความสามารถ แต่อ.ธนเดชมองว่าดูไม่ได้ชัดเจนนัก เป็นเพียงกำไรจากกิจการที่เหลืออยู่ น้ำหนักน้อยกว่ากำไรจากการดำเนินงาน)
อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรเป็นตัวดูว่าค้าขายอย่างไร// ในฐานะนักลงทุนควรดูว่าเงินลงทุนของบริษัทเอาไปใช้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน
อีกตัวหนึ่งที่เราจะมาพูดคุยกันต่อก็คือ อัตราผลตอบแทน (อัตราผลตอบแทนจากการใช้สินทรัพย์ ดูว่าสร้างรายได้, กำไร, ผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหน...บางคนเรียกว่าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งควรให้น้ำหนักสูงในการประเมินบริษัท และผลตอบแทนควรมากกว่าต้นทุนการกู้ 2% ขึ้นไป
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สำคัญมากที่สุดในมุมมองของผู้ถือหุ้น โดยดูว่าจากเงินลงทุนที่ผู้ถือหุ้นลงทุนในแต่ละปี ผู้บริหารสร้างผลตอบแทนให้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งสูง-ยิ่งดี...out perform 30%, ดี 20%, พอใช้ 15%)
ชุดที่ 2: อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์
อัตราส่วนทางการเงินหลายชุดก็เปรียบเสมือนการดูหนังที่มีพระเอก (อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน), พระรอง, ผู้ร้าย และตัวประกอบ (อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์) สำหรับคู่ที่ 1 ใช้ดูว่าสามารถใช้ประโยชน์สินทรัพย์ที่ลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน (ดี-ไม่ดี) เพราะถ้าดี กำไรและผลตอบแทนย่อมดีด้วย
อัตราการหมุนของลูกหนี้การค้า ยิ่งสูง-ยิ่งดี// ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ (ดูประกอบกัน) โดยธุรกิจทั่วไปมักมีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บหนี้กับลูกหนี้การค้าบ่อยที่สุด ซึ่งอัตราส่วนคู่นี้เป็นตัววัดเฉพาะ
คู่ที่ 2 อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (ใช้ต้นทุนขายไม่ใช่ยอดขาย เพราะยอดขายคือต้นทุน+กำไร ซึ่งสินค้าคงเหลือคือต้นทุน)
ระยะ เวลาเก็บรักษาสินค้าคงเหลือ (สะท้อนว่าตามเกณฑ์แล้วธุรกิจควรมีเก็บ Stock ไว้นานเท่าไหร่) โดยส่วนนี้ธุรกิจทั่วไปมักมีปัญหาเช่นกัน ซึ่งคู่นี้จะสะท้อนปัญหาที่ถูกแฝงไว้ เช่นถ้าลูกหนี้เพิ่มขึ้นแล้วการสำรองหนี้ต้องเพิ่มขึ้น และในอนาคตต้องเก็บมากขึ้น ทำให้สินค้าด้อยค่าเพิ่มขึ้น
อัตราการหมุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (คือสินทรัพย์ที่ธุรกิจใช้ดำเนินงาน สร้างรายได้หรือยอดขายได้เท่าไหร่ สูงดีกว่าต่ำ)// อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม (คือภาพรวมใหญ่ ดูว่าสินทรัพย์ก่อให้เกิดยอดขาย, รายได้ มากน้อยแค่ไหน ต้องสูงกว่า 1 ยิ่งมากยิ่งดี)
ชุดที่ 3: อัตราส่วนเกี่ยวกับภาระหนี้
ในแง่ของการลงทุน เราต้องผูกพันกับกิจการนี้ในระยะยาวพอสมควร เพราะฉะนั้นความมั่นคงของกิจการต้องมี กู้มากไปก็ไม่ดี-ไม่กู้เลยก็ไม่ดีอัตรา ส่วนแห่งหนี้ (วัดว่ากิจการที่ลงทุนนั้น สินทรัพย์ทั้งหมดก่อหนี้มาก-น้อยอย่างไร โดยวัดจากเจ้าหนี้...หากทำกำไรได้เยอะแต่ก่อหนี้เยอะก็ไม่ใช่-ยิ่งถ้าทำกำไร ได้น้อยแ
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ดูสัดส่วนการใช้เงินระหว่างเจ้าของกับเจ้าหนี้)
อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (อธิบายความสามารถในการทำกำไรจากยอดขายว่าเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยที่ต้อง จ่าย ถ้าทำได้เยอะก็สบาย แสดงว่ามีศักยภาพในการจ่ายดอกเบี้ยแน่นอน แต่ก็ไม่ควรมีมากเกินไป ทั้งนี้มีเกณฑ์ว่าขั้นต่ำไม่ควรน้อยกว่า 3 จะตั้งไว้ 4-5 เท่าก็ได้เพื่อรับความผันผวน)
ชุดที่ 4: อัตราส่วนสภาพคล่อง
เนื่องจากการค้าขายมีความไม่แน่นอนดังนั้นเราต้องมีการประเมินสภาพคล่องด้วย เพื่อสะท้อนความสามารถในการจ่ายหนี้ และดูรายจ่ายปกติอัตราส่วน เงินทุนหมุนเวียน สะท้อนว่าถ้าธุรกิจการค้าสะดุด จะมีปัญหาการจ่ายหนี้ระยะสั้นหรือไม่ถ้า มากกว่า1 (พอรับได้), 1.5 (ค่าเหมาะสม), แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป เพราะสะท้อนว่ามีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อรายได้แอบแฝง
อัตราส่วนสินทรัพย์ คล่องตัว อ.ธนเดช มองว่าไม่ใช่ทุกรายการที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดเท่ากัน แต่สินค้าเปลี่ยนเป็นสภาพคล่องได้เร็ว ซึ่งดอัตราส่วนนี้ละทิ้งไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะที่มีความไม่แน่นอน
ชุดที่ 5: Dupont System
ROE สูตรเดิมไม่มีมิติมุมมองเชิงลึก เพราะฉะนั้นถ้าต้องการมองเชิงลึกสามารถแตกรายละเอียดได้ โดยแยก ROE เป็นส่วนๆ เพื่อวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อสะท้อนว่า ROE ที่ขึ้นและลง เกิดจากส่วนไหน และทำให้สามารถ forecast ต่อได้ว่าอนาคตข้างหน้า ROE จะเป็นอย่างไรเมื่อนำอัตราส่วนทั้งหมด มายำเป็นรูปเดียวสรุปได้ว่า
สรุปอัตราส่วนทางการเงิน |
สุดยอด ขอบการสรุป
ตอบลบ