ในทางสังคมศาสตร์ ทฤษฎีที่ใช้อธิบายความไม่เสมอภาค และ ชนชั้นในสังคม ใหญ่ ๆ มี ๓ ทฤษฎี ได้แก่
- ทฤษฎีคุณสมบัติของบุคคล (ทฤษฎี "สู้แล้วรวย")ซึ่งเห็นว่าความ รวย/จนหรือนัยหนึ่งระดับชีวิตความเป็นอยู่ทางวัตถุของคนเรานั้น ถูกกำหนดจากหรือแปรตาม คุณสมบัติของบุคคล (individual attributes) ที่ต่าง ๆ กันไป เช่น ขยัน, มัธยัสถ์, กล้าเสี่ยง, กล้าริเริ่มสร้างสรรค์ ฯลฯ ภาพชุดคำอธิบายด้านล่างก็มาจากฐานคิดตามทฤษฎีนี้
- ทฤษฎีการกักตุนโอกาสในตลาดของ Max Weber
- ทฤษฎีการขูดรีดและครอบงำในกระบวนการผลิตของ Karl Marx
คนจนกับรวยตามทฤษฎีคุณสมบัติของบุคคล |
แต่ทฤษฎีของ Weber & Marx ผูกความรวย/จน หรือนัยหนึ่งความไม่เสมอภาคเข้ากับ positions (ฐานะตำแหน่ง) ทางเศรษฐกิจสังคมของคนในสังคมซึ่งถูกกำหนดจากสัมพันธภาพทางอำนาจและกฎหมายกติกาในสังคมนั้น ๆ
นั่นแปลว่าความรวย/จนจึงไม่ได้ขึ้นต่อคุณสมบัติของบุคคลคนหนึ่งเป็นหลัก ซึ่งทุกคนมีสิทธิ์สู้แล้วรวยได้ในสนามแข่งที่ราบเรียบ, หากเสนอว่าสนามแข่งมันเอียงกระเท่เร่หรือเหลื่อมล้ำลดหลั่นแต่ต้น บางตำแหน่งฐานะในสังคมได้เปรียบ บางตำแหน่งฐานะในสังคมเสียเปรียบ บุคคลที่อยู่ในตำแหน่งฐานะที่ได้เปรียบย่อมมีโอกาสชนะมากกว่า ได้กันท่าตัดโอกาส/ขูดรีดครอบงำคนอื่นแต่ต้น พูดอีกอย่างคือสังคมไม่เสมอภาคเพราะมันเอียง แบ่งเป็นชนชั้น (ฐานะตำแหน่งในสังคมเศรษฐกิจนั่นเอง) บุคคลบางคนหากสังกัดชนชั้นเสียเปรียบ ถึงสู้เท่าไหร่ก็ไม่รวยหรือรวยยากมาก, แต่บางคนสังกัดชนชั้นได้เปรียบ ไม่สู้หรือสู้เบา ๆ ก็รวยแล้วจ้า
จนรวยตามทฤษฎ๊ของ Weber & Marx |
ที่มา เกษียร เตชะพีระ, "ทฤษฎี "สู้แล้วรวย" ในการอธิบายความไม่เสมอภาคของคนในสังคม",online https://www.facebook.com/kasian.tejapira
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น