วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเภทของการการแจ้งความ


ขอบอกไว้เป็นความรู้ครับ

การแจ้งความ ทางกฎหมายจะเรียกว่า "ร้องทุกข์"
กับ "แจ้งเพื่อเป็นหลักฐาน" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ลงบันทึกประจำวัน"

การร้องทุกข์ คือ การร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่เพื่อให้เอาคนผิดมาลงโทษ การร้องทุกข์ จะต้องมีความประสงค์ที่จะลงโทษคนผิด มีผลทางกฎหมาย คือพนักงานสอบสวนจะต้องทำสำนวนเพื่อส่งต่อให้อัยการวินิจฉัยว่าฟ้องหรือไม่ฟ้อง แล้วอัยการก็จะสั่งฟ้อง เรื่องจะไปถึงศาล หรือมีอำนาจสั่งไม่ฟ้อง หรือมีอำนาจสั่งให้สอบเพิ่ม หรือ เรียกมาสอบเพิ่มเองได้

ส่วนการแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน หรือ ลงบันทึกประจำวัน เป็นการแจ้งเพื่อให้เป็นหลักฐานเฉยๆ ไม่มีผลใดๆ ทางกฎหมาย เอาไปใช้อะไรก็ไม่ได้ นอกจากเอาไปอ้างว่าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ่น แต่ไม่สามารถเอามาลงโทษผู้กระทำผิดได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น