วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เปิดร้านน้ำปั่นไม่ใช่งานสบายๆนะเธอว์

หลายคนฝันอยากเปิดร้านน้ำปั่น ผลไม้ปั่น smoothy แต่ถ้าใครลองเปิดแล้วไม่ใช่งานสบายๆนะเธอว์ ตอนเปิดร้านอาหารร้านข้างๆเป็นซุ้มน้ำปั่นครับก็แอบบศึกษาหาความรู้กันมา ปัญหาใหญ่ของคนทำร้านน้ำปั่นก็คือการจัดการวัตถุดิบซึ่งก็คือคือผลไม้ มันทั้งใหญ่ หนัก เน่าเสียง่าย และราคาขึ้นลงตามฤดูกาล ถ้าจัดการไม่ดีสินค้าเน่าเสียเงินจมหมดเจ้งได้ไม่รู้ตัว มาดูกันครับว่าปวดกระบาลแค่ไหน

smoothy

การจัดซื้อ

อย่างที่บอกตอนต้นว่ามันวัตถุดิบของเราเป็นสินค้าเกษตรที่ราคาขึ้นลงตามฤดูกาล ช่วงไหนเป็นหน้าออกผลของมันของเยอะก็ราคาถูก ช่วงไหนไม่มีของก็ราคาแพงลิบลิ่ว อย่างส้มก็จะราคาถูกช่วงหน้าหนาวหน้าร้อนนี่แทบ shock1 ไม่มีของและราคาแพงด้วย ถ้าเรารักลูกค้ามากหาส้มมาขายก็อาจรักษาลูกค้าไว้ได้แต่ก็รับขาดทุนไว้ด้วยนะ

Logistics


Logistics แปลง่ายๆเป็นคำ 4 คำว่า เคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม กระจาย ไปซื้อของมาก็ต้องคิดเรื่องการเคลื่อนย้ายไว้ด้วยเพราะมันเป็นสินค้าที่น้ำหนักมากขนด้วยมอเตอร์ไซต์ลำบาง บางที่ก็ต้องเหมารถตุ๊กๆจากตลาด อย่างที่ตลาดห้วยขวางนี่รถตุ๊กๆจากตลาดไปหน้า ม.หอการค้าเขาคิด 40 บาทถ้าวิ่งทุกวันเฉพาะค่ารถเดือนละ 1,200 shock2

ของมาที่ร้านก็ต้องจัดเก็บ ส่วนใหญ่จะเก็บไว้ในถังน้ำแข็งเอามาใช้ทั้งแช่ผลไม้และใช้ทำน้ำปั่น ส่วนใหญ่จะเห็นสั่งมาวันละ 1 ถุง ถุงละ 40 บาทเฉพาะค่าน้ำแข็งเดือนละ 1,200 shock3

จะเอามาปั่นให้ลูกค้าก็ต้องปอกซะก่อน จิตนการเอาเองแล้วว่าผลไม้ทุกชนิดต้องปอกเนี้ยอย่างต่ำๆก็ใช้เวลาครึ่งวัน แถมต้องจัดร้านด้วยอีก shock4 ปอกไว้ก็ต้องเอาไปเก็บในถังน้ำแข็งโดยธรรมชาติของผลไม้ปอกแล้วทิ้งไว้มันต้องช้ำเป็นธรรมดาถ้าขายไม่หมดก็ต้องทิ้ง วันๆนึ่งต้องทิ้งไปไม่รู้เท่าไรเงินทั้งนั้น shock5 บางทีจะหยุดร้านก็ไม่ได้กลัวของที่แช่ไว้จะเน่าอีก

การผลิต

การผลิตนี่ก็ปัญหาไม่ใช่เล่นครับลูกค้าแต่ละรายก็มีความต้องการต่างกัน ดังนั้นกว่าจะทำให้ลูกค้าคนอื่นได้ก็ต้องมี Setup time ในการล้างๆ ดีหน่อยที่ล้างแค่น้ำเปล่าแต่ก็ทำให้เสียเวลาในการขายมากๆ ลูกค้าต้องรอนาน shock6 สำหรับคนที่จะเปิดร้านน้ำผลไม้ปั่นแนะนำให้ใช้เครื่องปั่นแบบแรงๆครับแพงหน่อยแต่ว่าได้เนื้อน้ำปั่นที่ละเอียดและละลายช้าครับ

สรุปว่าจะทำอะไรก็ต้องวางแผนกันดีๆครับ หวังว่าบทความนี้คงช่วยให้คนที่คิดจะเปิดร้านน้ำปั่น น้ำผลไม้ปั่น ได้เตรียมตัวแก้ปัญหาต่างๆตั้งแต่เนิ่นๆนะครับ

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาที่ต้องเจอเมื่อคิดจะเปิดร้าน

หลายปีมานี้ความต้องการอยากมี “ธุรกิจอิสระ” เป็นของตนเองในหมู่คนรุ่นใหม่วัยหนุ่มสาว และมนุษย์เงินเดือนที่ต้องการปลดแอกตัวเองจากพันธนาการของนายจ้างนั้นดูจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

หลายต่อหลายคนฝันถึงกิจการเล็กๆ ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ, ร้านเบเกอรี่, ร้านหนังสือ, ร้านนวด, ร้านอาหาร, เกสต์เฮ้าส์ไปจนถึงโรงแรมเก๋ๆ อาจเพราะรูปแบบวิถีชีวิตและพฤติกรรมการกินการอยู่ของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปเยอะ มีคนนับแสนนับล้านที่เสพติดการเดินทางท่องเที่ยว ชอบทดลองของใหม่ และชอบใช้ชีวิตแฮงเอาท์อยู่นอกบ้านตั้งแต่เช้ายันค่ำ ทำให้ปริมาณร้านกาแฟ คาเฟ่ ร้านอาหาร ตลอดจนกิจการร้านค้าขนาดเล็กต่างๆ เพิ่มขึ้นราวกับดอกเห็ด

จากผลการสำรวจพบว่าความฝันของหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ไม่ได้อยู่ที่การได้เข้าทำงานในบริษัทใหญ่ๆ ชื่อเสียงโด่งดัง ร้อยละ 70 บอกว่าต้องการกลายร่างจากพนักงานกินเงินเดือนมาเป็น “ผู้ประกอบการพันธุ์เล็ก” และพร้อมจะเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายกับการลงทุนเพื่อธุรกิจในฝันทันทีที่มีเงินทุน เพราะแม้ว่าสิ่งที่ฝันไว้จะไม่ใช่อาชีพที่ดีที่สุดหรือให้ผลตอบแทนด้านรายได้สูงสุด แต่หากมันเป็นอาชีพที่ทำให้เขามีความสุข และสามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ส่วนตัวได้อย่างดี พวกเขาก็พร้อมที่จะลองลุยกับมันดูสักตั้งมาดูกันว่า 6 อันดับแรกเขาอยากทำอะไรกันบ้าง
  1. ร้านกาแฟและเบเกอรี่ – กรณีตัวอย่างจากอาฟเตอร์ ยู (After you) และ ไลบรารี่ (Library)
  2. ร้านหนังสือขนาดเล็ก – กรณีตัวอย่างจากร้านหนังสือเดินทาง, ร้านสวนเงินมีมา และร้านก็องดิด
  3. ร้านดอกไม้ – กรณีตัวอย่างจากร้านนภสร และ เรือนบุษบา
  4. บูติกโฮเต็ล – กรณีตัวอย่างจากเดอะภูธร, เฟื่องนคร และ พระนครนอนเล่น
  5. โรงเรียนสอนทำอาหาร – กรณีตัวอย่างจาก เรียนร่วมโต๊ะ และ A little something
  6. สปาและร้านนวด – กรณีตัวอย่างจาก DIVANA Spa & Clinic และ เรือนนวด 

แต่การทำธุรกิจอิสระว่าไปก็เหมือน "คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า" นะครับ คิิดว่าออกจากงานประจำมาทำแล้วจะมีความสุข ลืมคิดถึงปัญหาที่คุณต้องรับผิดชอบ เพราะคุณคือเจ้าของทุกปัญหาในร้านเป็นเรื่องที่คุณต้องตัดสินใจ

หลายคนบอกว่าเวลาที่มีความสุขที่สุดของการทำธุรกิจมีแค่สองช่วงคือ "ตอนเริ่มเปิดร้าน กับ ตอนเลิกกิจการ" เพราะเมื่อไรที่คุณเปิดร้านร้านนั้นจะเป็นเจ้านายคุณทันที อยู่เฉยๆไม่ได้ต้องทำงาน 7 วัน 24 ชั่วโมงไม่เหมือนตอนทำงานประจำที่อู้ได้ ปัญหาใหญ่ที่ค้ำคอไม่ให้หยุดได้ง่ายก็คือเรื่องเงิน เพราะถึงไม่ทำก็จะมีค่าใช้จ่ายคงที่เดินตลอดทุกวินาที ถ้าไม่จ่ายร้านก็อยู่ไม่ได้ และยิ่งตอนเปิดร้านไม่ได้คิดถึงเรื่องเงินทุนหมุนเวียนด้วยก็เตรียมตัวเจ้งได้เลย เพราะแหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจที่พึ่งเริ่มต้นนั้นหายากมาก bank ก็ไม่ค่อยปล่อยกู้เพราะไม่มีเครดิต มีแต่เงินกู้นอกระบบที่ดอกแสนแพง

อีกเรื่องนึ่งที่ต้องดูคือเรื่องของการแข่งขันธุรกิจเล็กพวกนี้ใช้เงินลงทุนไม่สูง ความรู้ไม่ต้องมาก คนอยากทำเยอะทำให้ คู่แข่งเยอะมากบางทีซอยเดียวกันมีร้านกาแฟสี่ห้าเจ้า แต่ลูกค้าก็เท่าเดิม ดังนั้นยอดขายก็จะไม่สูงโด่งถ้ามีการตัดราคากันด้วยอัตรากำไรก็ต่ำเตี้ยติดดิน

การบริหารประจำวันก็วุ่นวายไม่ใช่เล่น ตั้งจัดการทั้งเรื่องของและคน จะสั่งของเท่าไร จัดร้านยังไง คิดเงิน เก็บเิงิน ฯลฯ เรื่องคนก็ต้องจัดการทั้ง ตัวเอง ลูกค้า พนักงาน ตัวเองไม่เท่าไรเพราะมีค่าใช้จ่ายประจำค้ำคออยู่แล้ว แต่ลูกค้ากับพนักงานนี่แหละตัวปัญหา

ทำไปซักพักการเติบโตก็เป็นปัญหาใช่เล่นเพราะการเปิดร้านมันจะมีจุดอิ่มตัวของมันทำแทบตายก็ได้เท่าเดิมไม่เพิ่ม แต่จะโตก็ต้องเหนื่อยอีก บาทธุรกิจก็ทู้ซี้ทำไปเรื่อยๆก็มี

สรุปว่าจะเปิดร้านอะไรก็ต้องคิดและวางแผนดีๆครับเพราะมันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดคุณอาจเห็นแค่เบื้องหน้าว่าทำร้านมีความสุขแต่เบื้องหลังการถ่ายทำมันหนังชีวิตครับ

สู้ต่อไป SME ไทย.

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ฺBusiness model canvas เครื่องมือเขียนแผนธุรกิจอันทรงพลัง

สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มจะเขียนแผนธุรกิจแนะนำหนังสือเล่มนี้ครับ Business model generation มีประโยชน์มากเพราะว่ามันเห็นเป็นภาพชัดว่าตัวหนังสือบรรยาย เหมาะกับการ brainstorming สนุกสนาน idea ธุรกิจบรรเจิดมาก ที่ยกมาข้างล่างก็เป็นบทความของ อ.Wiboon Joong เขียนไว้ที่พันทิป มีประโยชน์มากเชิญอ่านโดยพลัน


ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ผมได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือ ตัวหนึ่งเพื่อใช้วางแผนกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นการบริหาร หรือ การตลาด ซึ่งพบว่า เครื่องมือตัวนี้ เป็นเครื่องมือที่มองอีกมุมหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ และ ใช้ได้ทั้งธุรกิจเก่า และ ธุรกิจใหม่ ซึ่งจะใช้เพียง 9 กล่องข้อมูล (9 Building Blocks) ในการออกแบบเท่านั้น ชือของมันคือ Business model canvas

ทั้งนี้ โมเดล ดังกล่าว เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อวิเคราะห์หากลยุทธ์ในการดำเนินกิจการ
ซึ่งสามารถใช้งานทั้งจาก ซ้ายไปขวา หรือ จากขาวไปซ้ายก็ได้

การคิดจากซ้ายไปขวา เป็นการคิดในเชิงการผลิตโดยมองมุมของเจ้าของกิจการเป็นหลัก ถ้าเป็นการออกแบบตามความต้องการของเจ้าของกิจการ โดยมองว่า เจ้าของกิจการมีความสัมพันธ์กับใครบ้าง แล้ว จะทำความสัมพันธ์เหล่านั้นเพื่อให้เป็นสินค้าต้องทำอย่างไร ก่อนจะกำหนด กลุ่มลูกค้า

การคิดจากขวาไปซ้าย เป็นการคิดในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าว่า เราจะเจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มใด ด้วยช่องทางใด สินค้าแบบใด แล้วค่อยมาคิดถึงกระบวนการผลิต

หรือบางคนเริ่มจาก กล่องกลาง คือ สินค้า หรือ มูลค่าเพิ่มของสินค้า และ ค่อยไปกล่องขวาสุดที่เป็น กลุ่มลูกค้า และ กล่องซ้ายสุด ที่เป็น พันธมิตรธุรกิจกับเรา แล้วค่อย วิเคราะห์ การเชื่อมโยงของ ทั้ง 3 กล่องนี้

ในกรณีที่เป็นธุรกิจเก่า เราอาจจะไม่ต้องสนใจการคิดแบบขวาไปซ้าย หรือ ซ้ายไปขวา แต่ขอให้ระบุรายละเอียดในแต่ละกล่องให้สมบูรณ์ก่อนที่จะวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการและปรับปรุง ก็ได้

จะเห็นว่า แนวทางการคิดของ Business Model นี้มีได้หลายแบบ แต่ทั้งนี้ ผลที่ได้จะเหมือนกัน คือข้อมูลที่อยู่ในแต่ละกล่อง คนที่ชอบสังเกตุ และ มองได้หลายๆมุม ก็จะยิ่งสามารถแจกแจงรายละเอียด ได้มากขึ้น

ในกรณีที่รายละเอียดมากเกินไป การจับกลุ่มข้อมูลจึงมีความสำคัญ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่กระชับมากยิ่งขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ Business Model จึงสามารถวางแผนได้ทั้งในองค์รวม และ รายละเอียดของธุรกิจนั้นๆ
ซึ่งผมจะขออธิบายองค์ประกอบ ของทั้ง 9 กล่อง จากขวาไปซ้ายละกันนะครับ


Business model canvas

1. กลุ่มของลูกค้า หรือ Customer Segments บางระบบจะย่อเป็น CS


เป็นการแบ่งกลุ่มของลูกค้า เพื่อหาข้อมูลว่า ลูกค้าในแต่ละกลุ่มนั้น มีความต้องการอย่างไร มีลักษณะสำคัญอย่างไร พฤติกรรมเป็นอย่างไร หรือ ปัญหาที่ลูกค้าพบคืออะไร เป็นต้น

อันนี้ผมพบว่า มีปัญหาในการแบ่งกลุ่มของลูกค้า อยู่บ้าง และ พบว่า Business Model นี้เหมาะกับ การวิเคราะห์กับการขายสินค้าให้กับลูกค้าโดยตรง หรือ ใช้กับกลุ่มลูกค้าเฉพาะ หรือ ใช้กับสินค้าเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ ดีมาก

ถ้าคุณเปิดบริษัทฯใหม่ ต้องการ ขายสินค้าให้กับ นักเรียน นักศึกษา อันนี้ก็มีเพียง 2 กลุ่มให้วิเคราะห์ ซึ่งเป็นการกำหนดกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน

หรือถ้า สินค้าคุณคือ สบู่ที่มีคุณภาพราคาแพง แน่นอนว่า กลุ่มลูกค้าของคุณ ก็คงหนีไม่พ้นคนมีรายได้สูง ชอบของมีคุณภาพ...

แต่ถ้า คุณกำลังวางแผนกลยุทธ์ให้กับห้างสรรพสินค้า กลุ่มลูกค้าออกมาได้หลากหลาย การวิเคราะห์ก็จะเริ่มยากขึ้น ต้องใช้องค์ประกอบอื่นๆ เพิ่มเข้ามาในการแจกแจงกลุ่มลูกค้าอีกที

เมื่อได้กลุ่มลูกค้าแล้ว คุณก็ต้องหาว่า แต่ละกลุ่ม มีจุดเด่น จุดด้อย ลักษณะ พฤติกรรม อย่างไรอีกชั้นหนึ่ง...

สิ่งที่ได้รับจากการทำเช่นนี้ ทำให้คุณได้เห็นแนวคิดของทีมหรือของคุณ กับ กลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่ม ยิ่งคุณหามุมมองที่แตกต่างจากคนทั่วไปได้มากเท่าไหร่ โอกาสที่คุณจะวางแผนกลยุทธ์ได้ดีก็มีมากตามไป ทั้งนี้ ต้องทำความเข้าใจว่า บางมุมมองซึ่งเป็นเรื่องปกติทั่วไป อาจจะกลายเป็น จุดที่จะทำให้เราสามารถวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด หรือ การบริหารจัดการ ได้ดีกว่าคนอื่นๆที่มองไม่เห็นก็ได้..
Customer Segments

2. การนำเสนอคุณค่า Value Proposition หรือบางที่ใช้ VP ซึ่งเป็นกล่องตรงกลาง


จริงๆมันก็คือ สินค้า และ บริการ แต่การที่ใช้คำว่า Value Proposition มันน่าจะมีความหมายที่แตกต่างจากสินค้าและบริการทั่วไป ตามแนวความคิด

ซึ่งจะเห็นว่า Proposition เกิดจาก 2 คำคือ
Pro ที่แปลว่า เหนือ, หรือ มากกว่า กับ
Position คือ ตำแหน่ง

ดังนั้น เป้าหมายของ สินค้าแลบริการ ที่จะลงข้อมูลในช่องนี้ คือ มูลค่าเพิ่มที่ใส่เข้าไปในสินค้า หรือ บริการ แล้วทำให้ตำแหน่งของสินค้าและบริการของเรา อยู่ในตำแหน่งที่เหนือกว่าสินค้าอื่นๆทั่วๆไป หรือ ที่อยู่ในท้องตลาด

Value หรือ มูลค่า ไม่จำเป็นต้องเป็นคุณลักษณะของสินค้า แต่มันรวมถึง คุณค่าต่างๆที่ไม่สามารถวัดออกมาด้วย เช่น คุณค่าทางใจ, ความรู้สึก, มุมมอง, แนวคิดที่สอดคล้อง, การเข้าร่วมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ฯลฯ...

ถ้าคุณวางแผนกลยุทธ์ทางด้านการขายสินค้า แล้วมีสินค้าหลายตัว แนะนำให้ แยกออกไปวางแผนกลยุทธ์ ตามกลุ่มสินค้า หรือ ประเภทสินค้า อย่าเอาสินค้าทั้งหมด มาวิเคราะห์ในแผนเดียว เพราะจะทำให้สับสน (ผลปรากฎว่า ไม่สามารถจับประเด็นมาทำกลยุทธ์ได้อย่างแท้จริง)

ในจุดนี้ คุณจะพบว่า สิ่งที่คุณคิดขึ้น กับ กลุ่มลูกค้า บางทีมีบางเรื่องที่อาจจะทำเป็นกลยุทธ์ขึ้นมาได้ ทั้งนี้ หากคิดอะไรเพิ่มเติมจากปัจจุบันได้ ก็ควรเขียน โน๊ตไว้อีกสีหนึ่งเผื่อจะได้นำมันมาวางแผนกลยุทธ์ต่อไป

การเข้าใจ สินค้าและบริการ เป็นเหตุผลหลักของธุรกิจ คนที่ไม่สามารถระบุจุดเด่นของสินค้าหรือบริการ ของตนเองได้ ผมพบว่าส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจมานาน จนไม่ได้มองว่าสินค้าเป็นอย่างไร ใช้ Connection ที่มีอยู่ หรือ มีการขายสินค้าได้อยู่ เลยไม่ได้มองถึงจุดๆนี้ ซึ่งนับว่าเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ
การนำเสนอคุณค่า
ผมได้อธิบายไป 2 กล่อง เพื่อให้เห็นภาพ กล่องแรกคือ Customer Segments ซึ่งผมใช้แทนด้วยสีเหลือ และอีกกล่องคือ Value Proposition สีฟ้า

จะเห็นว่า ระหว่าง 2 กล่องนี้ จะมี อีก 2 กล่องที่เชื่อมระหว่าง Value Proposition และ Customer Segment ทั้ง 2 กล่องนี้คือ Customer Relationships และ Channels ซึ่งผมจะกล่าวต่อไป...


3. ความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ Customer Relationships บางที่ใช้คำยอ่ว่า CR


โมเดลหลายๆโมเดลก่อนหน้านี้ ไม่ค่อยพูดถึง ความสัมพันธ์กับลูกค้า แต่มีทฤษฎีเกี่ยวกับ ความพึงพอใจของลูกค้า อยู่บ้าง Business Model ตัวนี้ ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ ระหว่างองค์กร ค่อนข้างมาก

เมื่อเราจะกำหนด Customer Relationships ในจุดนี้ ต้องมองในมุมของ ลูกค้าเป็นหลัก เพราะถ้ามองในมุมของเจ้าของสินค้า ความคลาดเคลื่อนอาจจะมีมากด้วย ผม พบเจ้าของกิจการบางท่าน ก็จะบอกว่า ลูกค้าพอใจในสินค้าและบริการของเขาอย่างมาก ไม่ต้องดูเรื่องนี้หรอก แต่เมื่อตรวจวัด ความพึงพอใจของลูกค้า (CSI : Customer Satisfaction Index) ขึ้นมา ทุกราย ตัวเลขสื่อให้เห็นว่า พวกเขาไม่พึงพอใจต่อการให้บริการหรือแม้นแต่สินค้า ก็มี แต่จำเป็นต้องใช้เพราะ มีการขายรายนี้เพียงรายเดียวที่คุณภาพได้ หรือ ราคาถูก เป็นต้น

ในการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านการตลาด ในเรื่องของ Customer Relationships ค่อนข้างมีความสำคัญ เพราะเป็นตัวบ่งบอกว่า ลูกค้าจะกลับมาซื้อซ้ำหรือไม่ หรือ ลูกค้าจะบอกต่อให้เพื่อนๆใช้สินค้านี้หรือไม่

เมื่อเจ้าของกิจการคิดรายละเอียดถึงความสัมพันธ์กับลูกค้า จะมีบางช่วงเวลา แว๊บๆขึ้นมาว่า กิจการเราไม่ดีต่อลูกค้าอย่างไร หรือ ลูกค้ากับองค์กรมีปัญหาอย่างไร ก็ให้ใส่สิ่งเหล่านั้นขึ้นมาด้วยเพื่อจะได้วางแผนกลยุทธ์ในการบริหารความสัมพันธ์ให้คงอยู่ยั่งยืนต่อไป
CRM

4 ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า หรือ Channels บางที่จะย่อว่า CH


บางคนใช้ ช่องทางการเข้าถึงลูกค้านี้ เป็น ช่องทางการจัดจำหน่ายก็มี หรือบางคน ก็ใช้เป็น Logistics ก็มี

บางคนการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านการตลาด จะมองจุดนี้เป็นช่องทางการจัดจำหน่าย
บางคนการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านการจัดการ ก็จะมองจุดนี้เป็น  Logistics ก็มี

ซึ่งผมคิดว่าไม่มีใครผิด มันขึ้นอยู่กับ การวางแผนกลยุทธ์นั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง

การโฆษณา หรือ ประชาสัมพันธ์ ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่จะเข้าถึงลูกค้า

การใช้สื่อ Internet หรือ Skype ก็เป็นช่องทางเข้าถึงลูกค้า

ผมจึงสรุปเป็นภาษาไทยรวมๆว่า ช่องทางที่จะเข้าถึงลูกค้า
ตัวอย่างช่องทางที่จะเข้าถึงลูกค้า

จะเห็นว่า ความสัมพันธ์ ระหว่าง กล่องที่ 1 คือ ลูกค้า กล่องที่ 2 คือ มูลค่าเพิ่มเติม ต้องใช้วิธีการต่างๆเพื่อ สื่อให้กับลูกค้าได้รับรู้ โดยใช้กล่องที่ 4  และ ต้องให้ลูกค้าพึงพอใจ หรือ ทำให้ลูกค้าพอใจ ในกล่องที่ 3

เป้าหมายของ Business Model ของทางฝั่งนี้ คือ กล่องที่ 5 รายได้ที่ได้รับ


 5. กระแสรายได้ หรือ Revenue Streams บางแห่งย่อว่า RS

คำว่า Streams แปลว่า ทางน้ำไหล หรือ เป็นสาย ฝรั่งเขาเติม s เข้าข้างหลัง นั่นหมายถึง เป้าหมายของการดำเนินธุรกิจ ต้องการ ทางเข้าของรายได้ หลายๆสายนั่นเอง

การที่รายได้เข้ามาเป็นสาย นั่นหมายถึง ความมั่นคงทางการเงินที่มากขึ้น

บางธุรกิจ รายได้มาแบบกะปิกะปอย (ไม่รู้เขียนถูกหรือเปล่า) มันจะรู้สึกหงุดหงิด ทำอะไรมันไม่ค่อยจะสะดวกสักเท่าไหร่  แต่ถ้า รายได้เข้ามาตลอดเวลา หลายๆทาง ก็จะรู้สึกว่า การดำเนินธุรกิจไป คุ้มค่า และ จะสนุกกับการทำธุรกิจนั้นๆ

การจำทำให้เกิดกระแสรายได้เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย จึงเป็นเป้าหมายในการวาง Business Model นี้ด้วย

ธุรกิจ อาจจะได้รายได้เพียงทางเดียว คำถามที่ผมมักจะถามกับเจ้าของกิจการคือ แล้วคุณคิดว่าจะหารายได้เพิ่มมาจากที่ใด ?

เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ คิดที่จะเปิดธุรกิจเพิ่ม ซึ่งบางคนก็คิดไปคนละเรื่องกับธุรกิจที่ดำเนินอยู่ ซึ่งมันก็ดี

แต่ในการแผนกลยุทธ์ในรูปแบบนี้แล้ว คุณควรจะมองรายได้เพิ่มจากธุรกิจต่อเนื่อง หรือ จากการบริการ หรือ จากมูลค่าเพิ่มของสินค้า มากกว่า การมองหาธุรกิจใหม่ๆ ทั้งนี้ก็เพราะ การมองหากระแสรายได้จากธุรกิจเดิม แล้วต่อยอด ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า อีกทั้งเจ้าของกิจการ หรือ ผู้ปฏิบัติการมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว

เจ้าของธุรกิจบางราย เลือกที่จะขึ้นราคาสินค้า เพื่อสร้างให้กระแสรายได้ ใหญ่ขึ้น ก็ต้องเสี่ยงกับ การหายไปของจำนวนลูกค้าว่า คุ้มค่าหรือไม่กับการเสี่ยงที่จะขึ้นราคาสินค้า บางสินค้าที่มีคู่แข่งน้อย หรือ มีการกำหนดราคาร่วมกัน ก็ไม่ค่อยจะมีปัญหา แต่กับสินค้าที่มีการแข่งขันสูง การขึ้นราคาอาจจะไม่ใช่หนทางที่ดีนัก

สิ่งที่คุณจะได้จากการดูกระแสรายได้ บางครั้งอาจจะต้องตกใจว่า มีเพียง กระแสรายได้ เดียว และ เป็นกระแสรายได้ที่ไม่ค่อยจะปลอดภัยเสียด้วย เช่น บริษัทฯผลิตรองเท้า OEM ให้กับรองเท้ากีฬาชื่อดัง โดนเจ้าของแบรนด์ย้ายฐานการผลิตไปเวียดนาม ทำให้เจ็งไปแล้วก็หลายราย และถ้าคุณสามารถรู้ก่อนว่า คุณจะเกิดปัญหาจากกระแสรายได้เพียงทางเดียว คุณก็ควรที่จะมองหากระแสรายได้ที่มีความปลอดภัยอื่นๆเพิ่ม ป้องกันตั้งแต่วันนี้ก่อนจะสาย
กระแสรายได้

 ธุรกิจ ส่วนใหญ่ มักจะวางกลยุทธ์ทางด้านการตลาด โดยใช้ 5 กล่อง นี้

แต่ทั้งนี้ กล่องที่เหลือ จะเป็น แนวทางการปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนให้ 5 กล่องแรก ประสบความสำเร็จ ถ้าวางแผนกลยุทธ์อย่างฉาบฉวย ก็จะดูที่ผลที่จะได้รับอย่างรวดเร็ว แต่ผลสุดท้ายแล้ว กลับไม่ยั่งยืน ดังนั้น กล่องที่เหลือ จึงเป็นกล่องเพื่อสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนนั่นเอง

ซึ่งผมขอเริ่มจากกล่อง ขวาสุดก่อน


6. คู่ค้าดำเนินธุรกิจที่สำคัญ หรือ Key Partners บางแห่งใช้ย่อว่า KP


ในด้านการวางแผนกลยุทธ์ในการผลิต Key Partners ส่วนใหญ่จะเป็น Supplier หลัก ที่ส่งวัตถุดิบมาให้เราเป็นจำนวนมากๆ ซึ่งถ้าเกิดปัญหากับ Supplier รายนั้น ปัญหาก็จะกระทบกับเราเช่นกัน ให้ดูผลที่เกิดจากน้ำท่วมที่ผ่านมา ทำให้วงการคอมพิวเตอร์ หรือ วงการอิเล็กทรอนิกส์ เกิดภาวะหยุดนิ่งชั่วขณะ เนื่องจาก ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่อยู่ในไทย เป็นต้น

หรือบางครั้ง Key Partners ก็หมายถึง บริษัทฯ ที่เราไปว่าจ้างเขาผลิตด้วย

ในด้านการวางแผนกลยุทธ์ในธุรกิจซื้อมาขายไป Key Partners จะกลายเป็น Supplier ส่งสินค้าให้กับเรา

เป็นต้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธุรกิจต่างๆ โดยรวม Key Partners จะหมายถึง บริษัทฯอื่น ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของเรา หรือ สนับสนุนธุรกิจของเราให้ดำเนินไปอย่างปกติ หรือ ดำเนินไปได้ดีขึ้นจากปกติ เพื่อหากลยุทธ์จากข้อมูลต่างๆที่ป้อนเข้าไปในกล่องน

คู่ค้าที่สำคัญ
เมื่อมองภาพรวมของการเชื่อมโยงในแต่ละกล่อง จะเห็นว่า ระหว่าง Key Partners และ Value Propositions ก็จะมีอีก 2 กล่อง ที่เป็นตัวประสานของ 2 กล่องนี้ คือ Key Activities และ Key Resources

สาเหตุที่ผมอธิบาย Key Partners ก่อน เพราะ คุณจะได้เชื่อม ความสัมพันธ์ ทั้ง 2 อย่างนี้เข้าด้วยกันด้วย ในการหาข้อมูลเข้ามาใส่ในกล่องทั้ง 2 นี้

ถึงแม้นแต่ คุณไม่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง Key Partners และ Value Propositions ทั้ง 2 กล่องที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ก็ต้องคิดในเรื่องที่จะสนับสนุน 5 กล่องแรกทั้งหมดได้เช่นกัน

7. กิจกรรมหลัก หรือ Key Activities บางแห่งย่อว่า KA


กิจกรรมหลัก เป็นกิจกรรมที่จะสนับสนุนให้ สินค้า และ บริการ มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น หรือ เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่าง คู่ค้า-ดำเนินธุรกิจหลัก ว่า ควรมีกิจกรรมอย่างไรเพื่อให้ คู่ค้าสนับสนุนธุรกิจเราได้ดีมากยิ่งขึ้น

กิจกรรม อาจจะเป็นกิจกรรมที่ส่งผลให้ กลุ่มลูกค้า เกิดความพึงพอใจ หรือ เป็นกิจกรรมร่วมระหว่างองค์กรกับลูกค้าด้วยก็ได้ หรือ เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการขาย เป็นช่องทางการขายเพิ่มมากขึ้น หรือ ให้บริการได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ กิจกรรมที่จะดำเนินการ อาจจะแฝงด้วยผลกำไรอีกทางก็จะดีไม่น้อย

บางครั้ง กิจกรรมนี้ ในทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการผลิต ก็จะหมายถึง การผลิต ด้วย

 8. ทรัพยากรหลัก หรือ Key Resources เขียนย่อว่า KR


ซึ่งเป็นวัตถุดิบ (Material) ที่ใช้ในการผลิตก็ได้ เพื่อให้สินค้าและบริการดีขึ้น หรือ จะเป็นสินค้าอื่นๆที่ซื้อมาเพื่อขายร่วมกับสินค้าก็ได้

ในการแผนผลิตภัณฑ์ ก็อาจจะกล่าวถึง Packaging ที่สนับสนุนให้การส่งสินค้าดีขึ้น

บางครั้งเราก็จะกล่าวถึง Key Man ในช่องนี้ ทรัพยากรบุคคล เครื่องจักรการผลิต เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เราเห็น ระบบการสนับสนุนของสินค้าและบริการของเราได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 9. โครงสร้างค่าใช้จ่าย หรือ Cost Structure ย่อว่า CS


โครงสร้างค่าใช้จ่าย ดูจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนหรือ จากกล่อง 1-8 ทั้งนี้จะทำให้เราเห็นภาพรวมของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นว่า มีจำนวนประมาณเท่าใด จุดใดเสียค่าใช้จ่ายมาก หรือ น้อยอย่างไร และเป็นตัวบ่งชี้ว่า เราจะสามารถคุมค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม ณ จุดใด

ซึ่ง กล่องที่ 9 โครงสร้างค่าใช้จ่าย และ กล่องที่ 5 กระแสรายได้ จะบ่งบอกถึง สถานะทางการเงินของธุรกิจ

ผมคิดว่า เพื่อนๆที่เข้ามาอ่าน คงเข้าใจ หลักการของทั้ง 9 Blocks ข้างต้นแล้ว

ผมค่อนข้างเชื่อมั่นว่า เมื่อคุณรู้จัก 9 Blocks แล้ว คุณก็ยังคงสงสัยว่า จะเอาไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ ต่อไปได้อย่างไร

เอาไว้ถ้าผมพอมีเวลาว่างเหมือนวันนี้ ผมจะมาอธิบายวิธีการใช้งานให้อีกครั้งหนึ่งนะครับ..

ต้องขอตัวก่อนครับ


ตัวอย่าง business model ของ myspace.com
business model ของ myspace.com

ถ้าอยากหาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเอง ลองไปที่เวบ businessmodelalchemist.com อันนี้ผู้เขียนหนังสือเป็นคนอธิบาย แล้วก็มี ppt อธิบายหลักการอยู่หลายอัน (อันที่เขาเอาไว้ training) ต้องลองหาดูในโพสต์เก่าๆเขาถ้าตามอ่านดู จะได้แนวทางแผนธุรกิจหลายๆแบบเลยทีเดียว หรือลอง search "Business model generation examples" ก็ได้ครับ

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข้อคิดดีๆเรื่องการบริหารคน

ผู้บริหารที่เก่งนอกจากจะต้องรู้จักการบริหารงานแล้ว ยังจะต้องรู้จักการบริหารคน "ต้องบริหารคนให้ได้งาน มากกว่าการบริหารงานให้เสียคน"...โดยต้องตรวจจับและดูแลอารมณ์และความรู้สึกของลูกน้องและทีมงานเป็น..."ต้องมั่นใจว่าพวกเขาหึกเหิม มีความสนุก มีไฟในตัว ไม่ท้อแท้ ท้อใจหรือถอดใจกับงานที่ทำ...ขวัญกำลังใจของพวกเขา ต้องทำให้เป็นดั่ง ไพร่พลที่กระหายการศึก และเต็มไปด้วยจิตใจที่พร้อมจะฉลองชัยชนะให้จงได้"...

ใช้คนก็เหมือนใช้อาวุธ ไม่ว่าปืนผาหน้าไม้หรือมีดสั้นยาว ต้องเรียนรู้และศึกษาก่อนใช้ ไม่ด่วนใช้สุ่มสี่สุ่มห้าเพียงแค่ภาพลักษณ์หรือสรรพคุณภาพนอก เพราะไม่เพียงจะสร้างความเสียหายใหญ่หลวง แต่ยังจะนำอันตรายและความหายนะมาสู่ตนได้..."คนหรืออาวุธ ถ้าใช้เป็น ใช้ได้อย่างมีสติปัญญา จะมีค่ามหาศาล..แต่ถ้าใช้ไม่เป็นและรีบใช้ อะไรที่ไม่คาดคิดก็ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ"...

คนคิดจะทำงานใหญ่ต้องรู้จักไว้ใจลูกน้องและทีมงาน ไม่หยุมหยิมลงรายละเอียดมากไปจนน่ารำคาญ โดยแรกคิดควรระลึกเสมอว่า "ลูกน้องเก่งมีความรับผิดชอบและสามารถตัดสินใจได้ มากกว่าจะมองว่าพวกเขาไม่ได้เรื่อง หรือทำงานไม่เป็น ทำงานไม่ได้...ชี้แนะและชี้นำพวกเขาได้ ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือพวกเขาได้ แต่ไม่ควรขีดเส้นให้พวกเขาเดินตาม หรือถามหาพวกเขาจนไม่เป็นอันก้าวหน้า"...

คนเป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าคนนายคน เป็นผู้นำผู้บริหาร ย่อมมีคนรักคนชอบ คนเกียจคนชัง คนยอมรับและไม่ยอมรับเรา ...ดังนั้นต้องระมัดระวังในการวางตัว การแสดงออก การพูดการจา "ต้องทำตัวให้เล็ก อ่อนนอกแข็งใน ใจเย็น ไม่ถือเขาถือเรา จึงจะเรียกว่า ยอดคนโดยแท้"

ความเชื่อมั่นในตนเองของผู้นำหรือผู้บริหาร แม้ว่ามีคุณานุปการในการทำงานหรือการปกครองคน แต่ก็ต้องพึงระมัดระวังเช่นกัน เพราะถ้ามีมากจนเกินไป ก็อาจทำให้กลายเป็นคนมีอัตตาสูง.."หูหนวก ตาบอด เริ่มเป็นคนพิการทางความคิดและอารมณ์ เพราะยึดมั่นถือมั่น เอาตนเป็นใหญ่ ไร้เหตุไร้ผลได้ในที่สุด"

คนเป็นผู้นำคนหรือคิดจะเป็นผู้นำคน ต้องรู้จักเก็บความรู้สึกตนเองไว้ในใจ อดทนอดกั้นให้เป็น ไม่แสดงออกถึงความอ่อนแอ ความขลาดหรือความเหน็ดเหนื่อยให้คนอื่นเห็น..."ดั่งขุนพลและแม่ทัพนายกองที่ มิกลัวตาย และจะไม่หยุดพักปาดเหงื่อหรือหลั่งน้ำตาระหว่างกลำศึก"

Pongchai Athikomrattanakul

วางแผนเปิดร้านอาหารสำหรับมือใหม่

การออกจากงานมาเป็นนายของตัวเองเปิดร้านกาแฟน่ารักฯ ร้านก๋วยเตี่ยว ร้านอาหารตามสั่งเล็กๆ ฯลฯ ถือเป็นความฝันของคนยุคนี้เลยทีเดียว แต่จากสถิติพบว่าร้อยละ 90 ของกิจการที่เปิดใหม่มักปิดตัว(เจ้ง) ในปีแรกและที่เหลืออีก 10% มีรอดเกิน 5 ปีเพียง 1% จากประสบการที่เคยเปิดร้านอาหารและอยู่ในกลุ่ม 90% หรือเรียกว่าเจ้งนั่นเองตอนตัดสินใจเซ้งร้านก็มานั่งคิดว่าจะทำต่อหรือไม่ ดูไปดูมาที่ร้านไม่มีความสามารถในการแข่งขันเพราะไม่ได้คุม Core ของธุรกิจคือเรื่องคน(พ่อครัว) เพราะผมทำอาหารเองไม่ได้และไม่มีเวลาอยู่ร้านตลอดเวลาด้วยต้องจ้างพ่อแล้วแม่งก็กวนตีน ตื่นสาย เปิดร้านก็สาย รสชาติไม่สม่ำเสมอ มันใจตัวเองสูงไม่ค่อยทำตามกลยุทธ์ของร้านทั้งเรื่องรสชาติและปริมาณ ส่วนเรื่องอื่นพอคุมได้ เมื่อคิดได้เยี่ยงนี้ก็ต้องถอยเซ้งร้านถูกๆแบบไม่เสียดายเงินลงทุน

แม้ว่าจะเสียเงินไปเยอะแต่สิ่งที่ได้คือความเข้าใจเรื่องธุรกิจว่าความสามารถในการแข่งขันของกิจการสำคัญกับความอยู่รอดของกิจการขนาดไป และเรื่อง flow ของธุรกิจทุกขั้นตอนตั้งแต่วัตถุดิบเอามาผลิตเป็นสินค้าจนขายได้เงินหมุนอย่างนี้ทุกวันและเรื่องจากสมัยก่อนที่ทำงานก็จะรับผิดชอบเป็นแผนกๆไปทำให้มองภาพรวมไม่ออก มาทำตรงนี้ถึงได้รู้ ก็ได้ความรู้เรื่องนี้แหละที่เอามาต่อยอดใช้ในการวิเคราะห์หุ้น ซึ่งปกติผมจะลงทุนแบบ value investment มีแนวคิดเหมือนเราเป็นเจ้าของกิจการหาหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันในราคาที่ปลอดภัยแล้วก็ถือยาวๆ ส่วนความรู้เริ่องการจัดการร้านเดี๋ยวเอาแชร์กันที่บล็อกนี้ครับ

สำหรับคนที่มีความคิดอยากลาออกจากงานมาเป็นเจ้าของกิจการไม่ว่าจะเป็นเปิดร้านอาหาร ร้านการแฟน่ารักๆ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านอาหารตามสั่ง ฯลฯ ก่อนจะลงทุนให้ถามตัวเองดังๆก่อนเลยว่า

"รับความเสี่ยงได้แค่ไหน?"

ทำธุรกิจส่วนตัวสมัยนี้ถ้าฝีมือไม่ถึงทุนไม่พออยู่รอดยากครับ โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นทุกอย่างต้องทำเองหมดต้องใส่ใจทุกรายและเอียดกว่าระบบจะอยู่ตัวก็หลายเดือน ไม่เหมือนลงทุนในหุ้นที่บริษัทเขาทุนหนากว่า ฐานลูกค้าสะสมมาเยอะกว่า ระบบการบริหารจัดการดีกว่า ฯลฯ ถ้ารับความเสี่ยงตรงนี้ไม่ได้ก็กลับบ้านไปไม่ต้องทำ เหนื่อยเปล่า เสียเงิน เสียเวลา ปวดกระบาลด้วย

ขั้นตอนการวางแผนธุรกิจร้านอาหาร


เมื่อตัดสินใจลาออกจากงานมาทำธุรกิจส่วนตัว คุณจะได้สวมหมวก CEO ในทันที CEO จะคิดแบบลูกจ้างเหมือนเดิมไม่ได้แล้วเพราะอนาคตของกิจการทุกอย่างจะขึ้นกับการตัดสินใจของคุุณ คนเป็นผู้บริหารมีหน้าที่ 3 อย่างคือ การวางแผน (Planning) การควบคุม(Controlling)ให้เป็นตามแผน และการติดตาม (Monitoring) งานเรื่อยๆไม่ใช่สั่งทิ้งสั่งขว้าง สำหรับหน้าที่ของ CEO ก็คือการบริหารกิจการให้มีกำไร กำไรก็คือยอดขายหักด้วยต้นทุน เวลาทำธุรกิจรายได้มันมีแค่บรรทัดเดียวแต่รายจ่ายมีเป็นร้อยบรรทัด กว่าจะเหลือเป็นกำไรในบรรทัดสุดท้ายของงบกำไรขาดทุนแทบ Shock

การวิจัยตลาดแบบเบื้องต้น

ก่อนเปิดร้านอาหารทำการบ้านนิดนึงหาเวลาว่างๆซักวันนั่งเล่นใจเย็น
  • Competitor ไปเดินเล่นแถวๆนั้นให้ทั่วๆดูว่ามีคู่แข่งกี่เจ้า ขายอะไรบ้าง กลยุทธ์การตลาดเป็นอย่างไรมันเล่นกันแรงแค่ไหน
  •  Competitive การแข่งขัน ถ้าธุรกิจแข่งขันกันรุนแรงมากเขาเปรียบเหมือน red ocean หรือน่านน้ำสีแดง แต่ละรายเลือดสาดกระจุย ทำไปกำไรไม่ค่อยมี เปิดร้านอาหารผมว่าแข่งขันกันสูงนะ เพราะมันเปิดงายเหลือเงินใช้เงินลงทุนไม่เยอะมาก เงินหมุนเวียนก็ซื้อของเข้าร้านวันต่อวัน ลูกค้าก็เลือกได้ไม่กินร้านนี้ก็ไปกินร้านอื่นได้อิ่มเหมือนกันอย่างตอนทำร้านวันเสาร์อาทิตย์จะขายดีเพราะร้านคู่แข่งปิดหมด 555
  •  Custommer ลูกค้า ก่อนเปิดร้านคุณรู้จักลูกค้าดีแค่ไหน ไหนๆจะเสียเงินแล้วเสียเวลาซักวันสองวันไปนั่งวิจัยลูกค้าหน่อยครับ
    - ปริมาณคนเดิน อาจจะวัดเป็น คน/ชั่วโมง
    - คนเยอะช่วงเวลาไหน วันนึงจะมีเวลาทำเงินทำทองอยู่ไม่กี่รอบครับแต่ละรอบพฤติกรรมไม่เหมือนกัน ด้วย กินตอนเช้ากับตอนเย็นก็ไม่เหมือนกัน
    - สถานภาพ เพศ อายุ การศึกษา ฯลฯ เพราะแต่ละกลุ่มพฤติกรรมไม่เหมือนกันครับ
    - พฤติกรรมลูกค้า ดูว่าคนส่วนใหญ่ทำอะไร เดินผ่านแบบเร็วๆจะรีบกลับบ้าน ค่อยๆเดินช็อบไปเรื่อย ฯลฯ
  •  Company มาดูที่ตัวเราว่ามีจุดแข็งจุดออนอะไร มีอะไรดีไปแข่งกับเขาบ้าง

กำหนดกลยุทธ์

นั่งดูไป 2-3 วันก็จะเริ่มรู้ว่าตลาดเป็นอย่างไร ลูกค้ากลุ่มไหนที่น่าสนใจที่จะดูดเงินได้ และตัวเรามีจุดแข็งที่คู่แข่งลอกเลียนได้ยากๆไปสู้เขาได้ เลือกลุ่มนั้นแหละ กลยุทธ์หลักตามตำราที่เขาสอนกันก็มีดังนี้
  • ต้นทุนต่ำ (cost Leadership Strategy) กำไรต่อหน่วยน้อยแต่เน้นขายปริมาณเยอะๆตัวอย่าง ร้านหมูทอดเจ้จง หลัง lotus พระราม4 ขายยังจะแจกฟรี เพราะพี่แกขายถูกมากบวกกำไรจิ้ดนึง ของแถมไม่อั้นทั้งน้ำจิ้ม น้ำพริก ผักแกล้ม เติมข้าวได้ไม่อั้น โคตรคุ้ม
  • เน้นความแตกต่าง (Differantation Strategy) อย่าทำอะไรให้เหมือนชาวบ้าน ที่เยาวราชมีร้านโต๊ะจีนอยู่ร้านนึงทั้งร้านมีโต๊ะเดียว รับแค่วันละโต๊ะด้วยแต่คนจองกันเป็นปี

จากกลยุทธ์สู่การปฎิบัติ

ส่วนใหญ่เวลาคนคิดจะเปิดร้านอาหารก็จะมองแค่การตลาด จะแต่งร้านอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เวลาทำจริงๆกว่าของจะออกจากครัวมันมีหลายส่วนงานที่ต้องทำงานเชื่อมโยงกัน  ลองดูวิดิโอข้างล่างจะเป็นการบรรยายเรื่อง Supply chain ตั้งแต่วัตถุดิบ ส่งไปผลิด จนออกมาเป็นสิ้นค้า และกระจายไปถึงผู้บริโภคว่าต้องผ่านผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน และแต่ละส่วนก็เป็นต้นทุนทั้งนั้น นักลงทุนมือใหม่จะไม่ค่อยรู้กว่าจะจับจุดได้จนอยู่ตัวก็หลายเดือน ไม่เหมือนพ่อค้าแม่ค้าที่ขายมานานเขาเล่าได้เป็นฉากๆเลยว่าทำอะไรบ้าง

แนวคิด value chain analysis ของเฮีย Michael E. Porter เครืองมือนึงที่นำมาใช้ในการวางแผนเปิดร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือธุรกิจอื่นๆได้และครบประเด็น แนวคิดแห่งห่วงโซ่แห่งคุณค่านี้แสดงให้เห็นถึง “ คุณค่า(value)” ทั้งหมดที่องค์กรมอบให้แก่ลูกค้าและลูกค้ายอมจ่ายก็คือกรอบนอก(มองเป็นยอดขายก็ได้) ส่วนกรอบในก็คือต้นทุนจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในองค์กร หักลบกันก็จะได้กำไร (Margin) ถ้ากิจกรรมไม่ทำงานสัมพันธ์กันเป็นทิศทางเดียวกันถึงขายของได้แต่ Margin ก็ไม่ค่อยมี วิธีใช้ก็ใ้ช้กรอบนี้ในการวางแผนแต่ละกิจกรรมให้สอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกับที่วางกลยุทธ์ไว้ โดยที่กิจกรรมแบ่งออกได้ 2 ประเภท
1. กิจกรรมหลัก / กิจกรรมพื้นฐาน
2. กิจกรรมสนับสนุน
value chain analysis
http://www.provenmodels.com

1. กิจกรรมหลัก

1.1 Inbound Logistics ก็คือกิจกรรมการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม และกระจาย วัตถุดิบมาที่ร้านของเราเป็นเรื่องที่ต้องคิดและตัดสินใจว่าจะทำกิจกรรมพวกนี้ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร เพราะทำร้านอาหารก็ต้องไปซื้อของเกือบทุกวัน ค่ารถ ค่าเก็บรักษาวัตถุดิบก็มีให้จ่ายได้ทุกวัน วันละนิดๆหน่อยๆเดือนนึงเยอะ กลยุทธ์การจัดการเรื่อง Inbound Logistics ของพ่อค้าแม่ขายที่เห็นตอนทำร้านก็ประมาณนี้
    1.1.1 ไปซื้อที่เดียว อาจจะเป็นที่ตลาดแ้ล้วขนมาเอง หรือสั่งกับพ่อค้าที่รับจ้าง shoping แล้วส่งให้เราที่ร้านทุกวัน ซื้อแบบนี้ก็อาจจะแพงกว่านิดนึงแต่สะดวกกว่า ประหยัดค่ารถ และค่าเสียเวลาที่จะไปซื้อตามแหล่งต่างๆ ตลาดใหญ่ๆที่ของครบราคาไม่แพงที่แม่ค้าชอบไปซื้อกันที่รู้จักในโซนบ้านผม ตลาดห้วยขวาง กับตลาดคลองเตยตอนทำร้าน(ร้านทำเลอยู่หน้าม.หอการค้า ลูกค้าหน้าตาดีพ่อค้าก็มีกำลังใจทำของอร่อยๆให้กินวิ้ว) ทุกเช้าก็ไปซื้อวัตถุดิบที่ตลาดห้วยขวางครับของเยอะดี เครื่องก๋วยเตี๋ยวไม่ค่อยหนักก็ขับมอเตอร์ไซด์ขนไปรอบเดียวได้ของมาเปิดร้านครบเลย
  •  ร้านสลัดกับร้านน้ำปั่นข้างๆมีผักผลไม้ที่หนักๆเปลืองเนื้อที่เยอะก็ต้อง จ้าง 3 ล้อมาที่ร้าน แค่ตลาดห้วยขวางมาหน้าม.หอการค้ามันคิด 40 บาทขนทุกวันแล้วคิดดูว่าเดือนนึงค่าใช้จ่าย Inbound Logistics เท่าไร
   1.1.2 ไปซื้อตามแหล่งถูกๆ แม่ค้าพวกนี้ชอบของถูกร้านไกลแค่ไหนก็ถ่อสังขารไป กาแฟปากซอยที่ผมขอบเดินไปกินทุกเช้า เขาจะมีแหล่งวัตถุดิบถูกๆของเขา ว่าแก้วไปซื้อตรงนี้ เมล็ดกาแฟสั่งตรงนั้น นมซื้อที่นูนฯลฯ ประหยัดต้นทุนได้แต่ต้อง trade off กับต้นทุน Logistics เพราะต้องเสียค่ารถในซื้อหลายที่ ไปซื้อบ่อยก็ไม่ได้ต้องซื้อของมาตุนไว้เยอะๆ เงินจมค่าของอีก

อีกเรื่องนึงที่ต้องคิดคือของมาถึงร้านแล้วจะจัดเก็บวัตถุดิบอย่างไรให้ดูสดก่อนถึงมือลูกค้า เพราะสินค้าในหมวดอาหารเป็นสินค้าที่เน่าเสียได้ถ้าของค้างไว้นานเอามาทำมันจะไม่อร่อย ถ้าตามร้านทั่วไปจะจัดเกับในถังน้ำแข็ง บางร้านก็มีสองถังคือถั่งใส่น้ำแข็งสำหรับให้ลูกค้ากินในร้าน กับถังใส่น้ำแข็งสำหรับแช่ของ น้ำแข็งถุงนึงก็ 40 บาทต้องซื้อทุกวันเดือนนึงก็...
1.2 การผลิตออกมาเป็นสินค้าหรือบริการ(Operations)
รูปแบบร้านอาหารจะมี 2 แบบคือ
  • ผลัก (Push) ให้นึกถึงร้านข้าวแกง คือทำเตรียมไว้ก่อนแล้วก็ผลักใส่ไล่ส่งไปให้ลูกค้า ขายไม่หมดก็ทิ้ง ขายข้าวแกงจะเหนื่อยตอนเตรียมแต่มันส์ตอนขายเราะตักขายอย่างเดียว
  • ดึง (Pull) ให้นึกถึงร้านก๋วยเตียว ร้านกาแฟ ที่พอมีคนสั่งถึงค่อยทำให้ลูกค้า ร้านแบบนี้ตอนเตรีมของไม่ค่อยเหนื่อยแต่เหนื่อยตอนทำ เพราะลูกค้าสั่งมาหลากหลายงง
ส่วนยากที่สุดของการผลิตในร้านอาหารไม่ใช่ทำให้อร่อย แต่คือความสม่ำเสมอของรสชาติ ต้องใช้ฝีมือหน้าครัวเยอะครับ ทำตามสูตรเป็ะๆไม่ได้เพราะวัตถุดิบอย่างเดียวกันรสชาติก็ไม่เหมือนกัน อย่างมะนาวคนละลูกก็รสไม่เหมือนกัน หม้อน้ำซุบก๋วยเตียวแต่ละช่วงเวลาก็รสชาติไม่เหมือนกันต้องคอยเอาน้ำใส่หรือปรุ่งเพิ่มเรื่อยๆ

เรื่องความเร็วเป็นเรื่องที่ต้องคอยปรับปรุ่งเรื่อยๆครับ ง่ายๆเลยก็ดูว่าอะไรทำพร้อมกันได้บ้างอย่างลวกก๋วยเตียวทีละกระชอนก็เป็นลวกพร้อมกัน2กระชอน ,หรือว่าลูกชิ้นกับผักลวกเก็บไว้ก่อน,หน้าครัววางเครื่องยังไงให้หยิบเครื่องสะดวก , ทำอย่างไรให้ล้างกระทะเร็วขึ้น เอาหลายๆออเดอร์มารวมๆกันทำทีเดียว ฯลฯ

ธรรมชาติของการผลิตอาหารแต่และประเภทก็กระทบกับต้นทุนด้วยแก้ไม่ได้ ร้านที่ใช้วัตถุดิบร่วมกันได้เยอะก็เหนื่อยน้อยหน่อย เช่นร้านหอยทอดผัดไทย ร้านร้าดหน้าผัดซีอิ้ว พวกนี้เครื่องปรุงเหมือนๆกันซื้อของก้ซื้อทีเดียวเยอะๆประหยัดเงิน ไม่เหมือนพวกร้านอาหารตามสั่ง ร้านส้มต่ำ พวกนี้ใช้เครืองเยอะซื้อทีอย่างละนิดอย่างละหน่อย
1.3 Outbound logistics
กิจกรรมเกี่ยวกับ เคลื่อนย้าย การจัดเก็บ รวบรวม การกระจายสินค้าและบริการที่เสร็จแล้วไปยังผู้บริโภค ถ้าร้านมีสาขาเดียวไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหรแค่คิดว่าจะทำอย่างไรให้รักษาสินค้าให้คงสภาพเดิมได้ก่อนถึงมือผู้บริโภคแล้วกัน อย่างร้านขายหมูปิ้งจะมีปัญหาเรื่องนี้มากเพราะหมูปิ้งเย็นแล้วก็ไม่อร่อย เอาไปอุ่นหมูก็แข็ง ต้องกินร้อนฯ พอเก็บไว้ไม่ได้ก็ไปหนักที่ฝ่ายผลิตต้องวางแผนดีๆ ถ้าปิ้งไว้น้อยไปก็ขายไม่ทัน ปิ้งมากไปก็ของเหลือขายไม่ออก

ถ้ามีหลายสาขาหรือเปิดเฟรนไซน์ ก็ต้องคิดแล้วว่าจะมีครัวกลาง? แล้วส่งอะไรไปให้ร้านสาขา? ร้านสาขาจัดเก็บอย่างไร? อย่างร้านชาย 4 บะหมี่เกี่ยวก็จะมีบริการจัดส่งวัตถุดิบให้ร้านสาขาทุกอาทิตย์ ร้านสาขาก็จะต้องตุนสต็อกเผื่อขายไว้ 1 อาทิตย์ด้วย
ถ้ามีบริการจัดส่งด้วยก็ต้องคิดอีกว่าจะทำอย่างไร ใช้รถอะไรไปส่ง ฯลฯ ใช้เวลาเท่าไรบางร้านก็จะผูกสัญญาใจกับมอเตอร์ไซต์รับจ้างแถวนั้นให้ไปส่ง

1.4 การตลาด และ การขาย (Marketing and sales)
กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ เช่น การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การเลือกช่องทางการจัดจำหน่าย ความสำคัญคือคุณเจาะลูกค้ากลุ่มไหนก็ต้องทำตลาดให้ตรงกับกลุุ่มลูกค้า ขณะทำร้านก็ต้องคอยสังเกตุพฤติกรรมลูกค้าตลอดว่าคนที่มีกินเป็นกลุ่มไหน เข้ามาร้านแล้วทำอะไร สั่งอะไรเป็นหลัก ฯลฯ

1.5 การให้บริการ (Services)
ทำร้านอาหารถ้าใจไม่รักการบริการก็อย่าทำเลยครับหงุดหงิด
เรื่องการรับ Order สำคัญมากครับถ้าคนรับ Order ดีๆเจ้าของรวย รายการไหนกำไรเยอะๆก็จะเชียร์อันนั้น หรือวัตถุดิบเหลือเยอะๆกลัวเน่าก็เชียร์เมนูนั้นซะหน่อย ลูกค้าสั่งน้อยไปก็เชียร์ให้สั่งเพิ่ม
กระบวนการต่อมาคือการ Order process ต้องส่งต่อข้อมูลไปฝ่ายบัญชี กับครัว และเด็กเสริพ ฝ่ายบัญชีก็เตรียมคิดเงิน ครัวได้ Order มาก็ต้องมาวางแผนการผลิตถ้าร้านใหญ่หัวหน้าพ่อครัวก็จะเป็นคนทำ พออาหารออกจากครัว เด็กเสริพก็ต้องรู้อีกว่าส่งโต๊ะไหน
ระบบที่ต้องออกแบบก็คือ Order-to-Ship เอาของไปหาลูกค้าให้ได้ ร้านPizzaก็จะกำหนด Order-to-Ship ไว้ที่ 20 นาทีถ้าทำไม่ได้ลูกค้าไม่ต้องเสียเงิน ฝ่ายlogistics วิ่งกันหัวปั่น หน้าที่ก็คือ Monitoring Cumminication กันทั้งภายในองค์กร (ไม่มีวัตถุดิบก็ของร้องให้จัดซื้อไปหามา สั่งให้ฝ่ายผลิตผลิตสินค้า) และภายนอกองค์กร (ลูกค้า ฯลฯ)


2. กิจกรรมสนับสนุน (Support activities)


2.1 โครงสร้างธุรกิจ (Firm infrastructure)
ถ้าตามร้านอาหารทั่งไปก็จะจัดหน้าที่เป็น แคชเชียร์ ครัว บาร์น้ำ เด็กเสริพ

2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management)
ทำร้านอาหารเรื่องการจัดการคนสำคัญมากครับโดยเฉพาะพ่อครัวนี่เจ้าปัญหาจริงๆ เจ้าของทำเองไม่เป็นพ่อครัวแม่งต่อรองชิบหายเลย บางทีมาเปิดสายบ้าง โดดงานบ้าง อารมณ์ไม่ดีรสชาติเปลี่ยนไปบ้าง และที่หายากอีกอย่างก็เด็กเสริพ ลองไปดูตามร้านก็ได้ครับคนไทยหายากแระมีแต่แรงงานพม่าทั้งนั้น

2.3 การจัดการเทคโนโลยี (Technology management)
ออกแบบระบบดีข้อมูลก็จะไหลลื่นมากขึ้น อย่าง MK เขาใช่ Poket pc มาใช้รับออเดอร์เหตุผลคือเพื่อให้บริการได้เร็วขึ้นจากแต่ก่อนพอเด็กเสริบรับออเดอร์ยังเดินไปไม่ถึงครัวเลยมีลูกค้ารายใหม่มาสั่งอีก

นอกจากความรวดเร็วแล้วยังช่วยลดความผิดพลาดลงได้ ส่วนใหญ่พอรับออเดอร์เสร็จ ข้อมูลก็จะส่งไปที่ครัวบอกว่าต้องทำอะไรบ้าง และส่งไปที่แคชเชียร์เตรียมคิดเงิน พอครัวทำเสร็จพนักงานก็จะรู้ว่ารายการอาหารนี้ต้องส่งไปที่โต๊ะไหน

2.4 การจัดหาปัจจัยการผลิต (Procurement)
แหล่งซื้อของส่วนใหญ่เขาจะปิดเป็นความลับเลยนะเพราะถ้าเรารักษาความลับไว้ได้คู่แข่งก็ลอกเลียนแบบยาก อย่างบางร้านปัจจัยการผลิตถือเป็นจุดขายของเขาเลย หน้าที่ของเราคือสืบเสาะไปเรื่อยๆ

คิดเสร็จก็ต้องวาง Actionplan

ต่อไปก็มาเขียน action plan ชี้ให้ชัดว่าจะทำอะไร อย่างไร แบ่งให้ใครรับผิดชอบ และจะทำเมื่อไร งบประมาณเท่าไร
Action Plan

เมื่อวางแผนเสร็จแล้วขั้นตอนสุดท้ายคือการลงมือทำตามแผนให้เต็มที่ ผลออกมาจะเป็นไงช่างมัน การยอมรับในผลที่เกิดขึ้นไม่ฟูมฟายเขาเรียก สันโดษครับมีปัญหาก็แก้ปัญหาไป ใช้หลัก PDCA ไปเรื่อยๆครับ แรกๆยังทำงานไม่มีมาตรฐานก็ต้องพยายมสร้างมาตรฐานการทำงาน(work standard)ขึ้นมาและพยายามพัฒนามาตรฐานให้สูงขึ้นเรื่อยๆครับ


ก็หวังว่าบทความนี้คงสร้างประโยชน์ให้ผู้สนใจไม่มากก็น้อยเจริญในการการลงทุนครับ ทำจริงยังมีอะไรมากกว่านี้อีกเยอะครับ

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การบริหารเงินทุนหมุนเวียนหัวใจธุรกิจที่ต้องดูแล

การบริหารเงินทุนหมุนเวียนคือหัวใจของความอยู่รอดของธุรกิจ SME มือใหม่มักจะลืมคิดเรื่องนี้กันไปโดยเฉพาะพนักงานประจำที่เพิ่งลาออกมาเปิดร้านเป็นครั้งแรกยังไม่รู้ประสีประสาไม่ได้วางแผนเรื่องนี้ไว้แค่เอาเงินมาสร้างร้านแต่ไม่ได้เตรียมเรื่องเงินทุนหมุนเวียนทำให้ธรุกิจที่สร้างมาด้วยเงินเก็บทั้งชีวิตเจ้งหมดเนื้อหมดตัวกันมานัดต่อนัด

เงินทุนหมุนเวียน(Working Capital)คืออะไร

ธรรมชาติของการทำธุรกิจนอกจากจะลงทุนสินทรัพย์ถาวร(ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์) แล้วจะมีเงินอยู่ก้อนหนึ่งหมุนเวียนมีเงินงอกออกมาให้เราใช้เรื่อยๆ เงินก้อนนั้นเขาเรียกเท่ๆว่า เงินทุนหมุนเวียนหรือ working capital นั่นเอง ซึ่งจะประกอบด้วย เจ้าหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ และลูกหนี้การค้า มาดูกันว่าในการทำธุรกิจเงินก้อนนี้มันหมุนเวียนกันอย่างไร
เงินทุนหมุนเวียน

สมมติเรามีเงินลงทุนก้อนนึง เปิดร้านขายของพอสร้างร้านเสร็จแล้ว จะมีเจ้าหนี้การค้าใจดีเอาของมาวางไว้ที่ร้านและกำชับอย่างหนักแน่นว่า ของที่วางกองๆอยู่ในร้านเรียกว่าสินค้าคงเหลือ  ลูกค้ามาซื้อของเจ้าของร้านก็ใจดีให้เครดิตลูกค้า(ลูกหนี้การค้า)ไป ครบกำหนดเก็บเิงินจากลูกหนี้ได้ก็เอาไปจ่ายเจ้าหนี้การค้า เงินที่เหลือก็เอาไปจ่ายค่าใช้จ่ายคงที่ (ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินเดือนลูกน้อง ค่าน้ำค่าไฟ ฯลฯ) จ่ายแล้วเหลือเท่าไรก็เป็นกำไรเข้ากระเป๋า เย้

ปัญหาเริ่มเกิดเมื่อมีสุญญากาศทางการเงิน

ร้านเดิมนี่แหละสมมติว่า
  • เจ้าหนี้การค้าให้เครดิต 30 วัน
  •  ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย 20 วัน (สินค้าคงเหลือดองอยู่ในร้าน)
  • ปล่อยเครดิตการค้า 60 วัน
ตั้งแต่สินค้าเข้าร้านจนขายออก(ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย) 20 วัน และพอขายของได้แล้วกว่าจะเก็บเงินได้ใช้เวลาอีก 60 วัน รวมแล้วใช้เวลา 80 วันกว่าของจะเป็นเงินสด แต่เจ้าหนี้การค้าปล่อยเครดิตให้แค่ 30 วัน แสดงว่าร้านนี้จะวงจรเงินสด (Cash Cycle) อยู่ 20 + 60 - 30 = 50 วัน ทำให้เกิดปัญหาคือใน 50 วันที่เงินยังไม่เข้านั้นบริษัทมีค่าใช้จ่ายทุกวัน ถ้าอยากทำธุรกิจต่อก็ต้องหมุนเงินมาจ่ายให้ได้

เคราะห์ซ้ำกรรมซัดเมื่อทำธรุกิจแล้วมีจุดรั่วไหล

ในทุกกระบวนการถ้าคุมไม่ดีก็มีการสูญเสียเยอะ ซึ่งเป็นเงินทั้งนั้นถ้ามันเยอะๆมีสิทธิเจ้งได้ เงินเงินไม่หมุนต้องหาเงินมาเติมเรื่อยๆ
  • สินค้าคงเหลือ
    • วัตถุดิบ(raw material)
      • ของหาย, ระเหย, เสื่อมสภาพ ฯลฯ
    • งานระหว่างทำ(working in process)  ->ของเสียจากการผลิต ฯลฯ 
      • สมัยทำร้านอาหารลูกค้าสั่งมาแล้วทำผิดไป 1 จาน ต้อนเอากำไรของ 2 จานมาโป๊ะ สรุปเงินหายไป 3 จานรวด
    • สินค้าสำเร็จรูป(finish goods)
      • ของหาย , สินค้าเสื่อมสภาพ, ของขายไม่ออก (Dead stock) ฯลฯ
    • และสินค้าทั้งหมดที่กองๆไว้อยู่ในคลังสินค้ามีค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งค่าเช่าพื้นที่คลังสินค้า ค่าพนักงาน ฯลฯ
  •  ลูกหนี้การค้า
    • เก็บเงินไม่ได้
    • ลูกหนี้จ่ายช้า
สาเหตุที่ธุรกิจเปิดใหม่ร้อยละ 90 ต้องปิดตัวไปตั้งแต่ปีแรกส่วนใหญ่ก็เพราะสาเหตุเหล่านี้แหละครับ บริหารเงินสดได้ไม่ดีพอ ต้องการเงินหมุนบริษัทใหญ่หน่อยก็กู้ OD ได้ แต่ SME รายเล็กๆนี่คิดหนักหน่อยแบงค์ก็ไม่ปล่อยกู้ ต้องไปหาแหล่งเงินอื่นเช่น แลกเช็ก ยืมเงินเพื่อน กู้นอกระบบ ตั้งวงแชร์ เพิ่มทุน เอาสินทรัพย์ไปจำนำ ฯลฯ