วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการกำหนด Mission พันธกิจ

คนเราเมื่อมีวิสัยทัศน์ (Vision) ก็เหมือนมีความฝัน พันธกิจ (Mission) ก็เหมือนการสือสารกับพนักงานว่าเราจะไปจุดนั้นได้อย่างไรจะได้เดินไปทางเดียวกัน ไปเจอบทความเรื่องการเขียน Mission โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj) เชิญอ่านโดยพลัน

เวลาวิเคราะห์ระบบงานให้กับองค์กรต่างๆ สิ่งหนึ่งที่ทำก่อนก็คือ วิสัยทัศน์ (Vision) แต่สิ่งที่ทำให้คนในองค์กรต่างๆสับสนส่วนใหญ่ก็คือ พันธกิจ หรือ Mission นั่นเอง แค่ภาษาอังกฤษก็ทำให้สับสนแล้ว มาเจอภาษาไทยที่หรูหรา บางคนก็สับสนไปเลยก็มี

Mission ไม่ได้มากจาก Miss ที่แปลว่าผิดพลาด หรือ ผู้หญิงโสด แต่มันเป็นคำเฉพาะ แปลว่า หน้าที่การงาน คณะทูต หรือ การเผยแผ่ศาสนา แต่แปลเป็นไทยว่า พันธกิจ

พันธกิจ มาจาก พันธะ หรือ ความผูกพัน กับคำว่า กิจ แปลว่า หน้าที่การงาน รวมแล้วก็น่าจะหมายถึง งานที่มีความผูกพันต่อเนื่องกับวิสัยทัศน์ ในเชิงการบริหารจัดการมากกว่า โดยทั่วไปแล้ว พันธกิจ จะบอกถึงสิ่งที่องค์กรกำลังทำอยู่ในปัจจุบันมากกว่า ช่วยทำให้เรารู้ว่าเราคือใคร (Who we are?) และกำลังทำอะไร (What we do?)

บางคนก็เข้าใจว่า พันธกิจ หรือหน้าที่ของเขา คือ ทำกำไร ซึ่งก็จริงอย่างที่เขาพูด ทั้งนี้ สิ่งที่จะเป็นพันธกิจขององค์กรถึงแม้นจะไม่ใช่การทำกำไรโดยตรง แต่หากทำแล้วองค์กรก็จะมีกำไรตามมา แต่บางองค์กรไม่ใช่องค์กรแสวงหากำไร แล้วพันธกิจของเขาคืออะไร??? อันนี้ก็น่าคิดเหมือนกัน

พันธกิจถ้าจะเขียนให้ดี ต้องรู้ว่า ลูกค้าจริงๆของเราเป็นใคร ความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างไร รู้ว่าเราเป็นอย่างไร และ จะทำอย่างไรเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทำอย่างไรถึงจะสามารถสนับสนุนการขาย ทำอย่างไรถึงจะให้คู่แข่งตามไม่ทัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของทั้งองค์กรของทุกคน

จริงๆแล้ว กฎการเขียนก็คงไม่ตายตัวสักเท่าไหร่ แต่เวลาหาข้อมูลไปลึกๆเข้าก็จะพบว่า “Peter Drucker” ปรมาจารย์ด้านการจัดการของโลก เคยระบุไว้ว่า โดยส่วนใหญ่แล้วพันธกิจขององค์กรๆ หนึ่งมักจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบด้วย 9 ประการ คือ

1. ลูกค้า
เป็นการแจกแจงว่า ลูกค้าของเราเป็นใคร ซึ่งก็จะมีทั้งแนวทางการหาลูกค้า ในกรณีลูกค้าไม่ประจำ หรือ องค์กรที่เน้นลูกค้าเป็นหลัก ก็จะพูดถึงความพึงพอใจของลูกค้า

2. สินค้าและบริการ
เป็นการดูว่า สินค้า และ บริการ ของเราเป็นสินค้าประเภทใด ซึ่งก็มุ่งประเด็นไปตรงกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย หรือ ชูประเด็นให้เห็นถึงมุมมองของสินค้าและบริการที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรจริงๆ

3. ตลาด (ตามภูมิศาสตร์แล้ว องค์กรเข้าไปดำเนินการแข่งขันในบริเวณใดบ้าง?)
นอกจาก ตลาดจะอยู่ที่ใดตามภูมิศาสตร์แล้ว องค์กรยังมีการตลาด แนวทางการตลาด วิธีที่ใช้ในการตลาด ไม่ว่า จะเป็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือ กลวิธีที่จะส่งผลอย่างไรเพื่อให้วิสัยทัศน์ได้บรรลุเป้าหมายได้จริง

4. เทคโนโลยี
องค์กรใช้เทคโนโลยี อย่างไร หรือมี นวัตกรรมอะไรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหรือสร้างสรรงานใหม่ๆ หรือ องค์กรมุ่งเน้นทางด้านนวัตกรรมมากน้อยเพียงใด

5. การคำนึงถึงการอยู่รอด เติบโต และผลกำไร
ซึ่งเรื่องนี้แทบจะต้องมีในทุกๆองค์กรเลยก็ว่าได้ เพราะว่าเป็นหัวใจของธุรกิจเลยว่า ต้องอยู่รอดได้ ต้องมีกำไร ต้องเติบโต ให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

6. ปรัชญา
ปรัชญาจะบ่งบอกถึง ความเชื่อ ความเป็นองค์กร วัฒนธรรมองค์กร คุณธรรม จริยธรรมขององค์กร รวมไปถึง ค่านิยมขององค์กรว่า ภาพรวมขององค์กรที่สำคัญๆ และส่งผลให้ วิสัยทัศน์ ฉายแววแห่งความสำเร็จนั้น มีพื้นฐานต่างๆอย่างไร

7. ความแตกต่าง
การสร้างความแตกต่างก็เพื่อให้องค์กรมีจุดยืนพิเศษ เพื่อให้เหนือคู่แข่งขัน หรือ ให้มีความแตกต่าง เป็นจุดเด่น เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสนใจในตัวองค์กรขึ้น ทั้งนี้เราจะต้องเลือกเฉพาะความแตกต่างที่สร้างสรรที่จะนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จเป็นเกณฑ์เท่านั้น

8. การคำนึงถึงสังคม
บางองค์กร บางหน่วยงาน ให้ การคำนึงถึงสังคม ต่อชุมชน หรือ ต่อสิ่งแวดล้อมเป็นตัวชูโรงว่า ตนนั้นทำเพื่อสังคม ทำเพื่อประชาชน เพื่อให้ภาพลักษณ์ดูดี เป็นการทำ PR อย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ต้องมั่นใจ หรือ ทิศทางที่ชัดเจนจริงๆ ถึงจะใช้ในลักษณะนี้ การใช้แค่สร้างภาพเพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้ คนทำงานสับสนกับองค์กรได้

9. การคำนึงถึงบุคลากร
องค์กรที่คำนึงถึงบุคลากรเป็นหลัก เมื่อลงข้อนี้พนักงานจะมีความเชื่อมั่นในองค์กรมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ความจริงใจ การพัฒนาบุคลากรอย่างเต็มที่ เต็มประสิทธิภาพ จะทำให้ ผลงานที่ได้รับออกมาดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว เฉพาะองค์กรที่มีจำนวนพนักงานมากๆเท่านั้น ถึงจะกล่าวในจุดนี้ เพื่อดึงใจพนักงานให้สูงขึ้น แต่หากไม่ดำเนินตามที่เขียนไว้ บางทีก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้เช่นกัน



ส่วนตัวผม ผมก็จะเพิ่มหัวข้อเหล่านี้เข้าไปด้วยในกรณีบางองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ไม่ใช่เก่งกว่า Perter Drucker แต่เพราะว่ามันใช้งานจริง จึงเห็นสิ่งที่ควรจะเพิ่มก็เท่านั้น

10. เป้าหมายการดำเนินงาน
เพื่อให้การทำงานเด่นชัดมากขึ้น การดำเนินงานจึงต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน รู้ว่าทำไปแล้วได้อะไร เพื่ออะไร แล้วจะส่งผลอย่างไรกับองค์กร

11. ทีมงาน และ สายสัมพันธ์
เพื่อมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม ไม่ว่าจะเป็นทีมเล็ก ทีมใหญ่ หรือ ทีมทั้งหมดที่เป็นองค์กร ทั้งนี้ เมื่อระบุในพันธกิจ ก็จะหมายถึง การสร้างนโยบายในเชิง ทีมงาน เป็นหลักด้วย

ทั้งหมดเป็นเพียงแนวทางการเขียน Mission หลักๆเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่มีหลักการตายตัวในการเขียน เพียงแต่เมื่อเขียนแล้วขอให้สามารถสื่อสารคนภายในองค์กรได้จริง มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพื่อให้บรรลุ วิสัยทัศน์ ที่ได้ตั้งขึ้นมา

ทดสอบการเขียนสมการคณิตศาสร์ใน blogger

ทดสอบการเขียนสมการคณิตศาสร์ใน blogger
$a^{2+8}\times 6$

คัดลอกวิธีทำมาจาก http://pleasemakeanote.blogspot.com/2008/09/how-to-post-math-equations-in-blogger.html

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เปิดร้านอาหารเล็กๆ ที่ไม่ใช่เรื่องเล็ก

คนส่วนใหญ่มีความฝันอยากเปิดร้านอาหารเล็กๆ ยิ่งพวกร้านกาแฟนั่งชิวๆน่ารักๆ ร้านอาหารเก๋ๆ หลายคนคิดว่าง่ายๆแต่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องเล็กๆนะครับ ทั้งปัจจัยภายนอกและภายในที่มากระทบ ชวนปวดหัวทั้งนั้น

ปัจจัยภายนอก

จริงอยู่ว่าอาหารเป็นปัจจัย 4 คนต้องกินทุกวัน ความต้องการต้องโตตามสภาพเศรษฐกิจแน่นอน แต่ปัญหาอยู่ที่เรื่องของการแข่งขันครับ เครื่องมือวิเีคราะห์ง่ายๆก็คือ Five force model  ครับ
Five force model ร้านอาหาร
ในภาพจะเห็นว่าเปิดร้านอาหารนี่แข่งกันสูงครับ คู่แข่งรายใหม่ก็เข้ามาง่ายเพราะลงทุนไม่สูง เทคโนโลยีไม่มาก วัตถุดิบก็หาง่าย ลูกค้าที่มาซื้อก็มีตัวเลือกเยอะ กินร้านไหนก็อิ่มเหมือนกัน และสภาพการแข่งขันแต่ละร้านก็สูง ตั้งราคาสูงมากก็ไม่ได้ ต้องแถมนู่นแถมนี่ เบียดบังอัตรากำไรให้ต่ำลงอีก

สภาพการแข่งขันแรงๆแบบนี้หนี้ไม่พ้นทั้งร้านแบบชาวบ้านที่ขายตามตลาดทั่วไป และร้านไฮโซที่เปิดตามห้าง พวกร้านไฮโซนี่ดีกว่าหน่อยเพราะบวกราคาได้เยอะ แต่ก็มีต้นทุนคงที่เยอะทั้งค่าเช่ามหาโหด ค่าจ้างคนงาน ค่าเสื่อมของ หักแล้วยังเหลือมากกว่า

ปัจจัยภายใน

ขอบอกว่าจะเปิดร้านอาหาร "เหนื่อย" ถ้าใจไม่รักจริงทำไม่ได้ เพราะคนที่ทำได้ต้องเป็นคนที่พิถีพิถันในทุกขั้นตอน และส่วนใหญ่จะเป็นงานประจำทำซ้ำๆ ซากๆ
  • ซื้อของที่ตลาด
  • เตรียมเครื่อง
  • เปิดร้าน
    • ทำความสะอาด
    • ยกโต๊ะลง
    • แต่งร้าน (เอาป้ายไปตั้งหน้าร้าน)
  • ระหว่างเปิด
    • รับออเดอร์
    • ส่งคำสั่งไปครัว
    • เสริฟ
    • คิดเงิน
    • เก็บโต๊ะ
    • ล้างจาน
  • ปิดร้าน
    • เก็บร้าน
    • ทำความสะอาด
    • คำนวณกำไรขาดทุน
    • คิดว่าพรุ่งนี้จะสั่งของอะไรเพิ่ม
  • วนไปทำข้อแรกทุกวันทุกวัน ฯ
ปัญหาอีกเรื่องคือเรื่องคุณภาพอาหารเพราะจุดสำเร็จหนึ่งคือความคงที่ของรสชาติอาหาร ลูกค้ามากี่รอบก็ต้องได้กินอาหารรสชาติเดียวกัน ที่ปากซอยบ้านผมมีร้านก๋วยเตี๋ยวอยู่ร้านนึงทำไม่อร่อยๆเลยแต่ก็อยู่รอดมาได้เป็น 10ๆ ปีเพราะเขาทำไม่อร่อยแบบคงที่

เรื่องคนก็เป็นปัญหาใหญ่มักๆ โดยเฉพาะพ่อครัวนี่ตัวกวนเลย ยิ่งเจ้าของทำไม่เป็นพ่อครัวนี่อำนาจต่อรองเยอะ เรื่องมาก เด็กเสริพ คนล้างจากก็หายากขึ้นทุกวัน

หวังว่าบทความนี้คงช่วยให้คนที่อยากออกจากงานมาเปิดร้านอาหารคงได้วางแผนให้ตัวเองได้ชัดเจนมากขึ้น และวางแผนครอบคลุมปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้นะครับ แม้ทำร้านอาหารจะเหนื่อยปัญหาเยอะแต่ความสุขที่แท้จริงก็อยู่ที่เห็นจานของลูกค้าเกลี้ยงตอนเก็บโต๊ะ และเดินออกไปด้วยรอยยิ้มนี่แหละครับ

สู้ต่อไป SME ไทย

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การนำ "Vision" ไปปฎิบัติ

หน้าที่สำคัญของผู้บริหารก็คือการ วางแผน การควบคุม และการติดตามผลงาน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามความต้องการของลูกค้า ที่เขา

พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล[1] วิสัยทัศน์ หรือ "Vision" เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากสำหรับผู้นำและผู้บริหารที่เก่ง...เป็นสิ่งที่ไม่สามารถสร้างได้แค่เพียงชั่วข้ามคืนหรือเรียนรู้จากตำรับตำราต่างๆ...จะมีหรือไม่มี จะมากหรือจะน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัยวุฒิหรือชาติพันธ์ุ ผู้ใหญ่หรือเด็ก การศึกษาสูงหรือต่ำ...แต่ขึ้นอยู่กับความกล้าที่จะคิด ทีีี่จะเปลี่ยนเแปลง กล้าที่จะลืมความสำเร็จและความเชื่อในอดีต กล้าที่จะมองไกลและกว้างกว่าความเป็นจริง แม้สิ่งเหล่านั้นจะยังไม่เกิดขึ้น หรือหลายคนยืนยันว่า "มันเป็นไปไม่ได้ก็ตาม"...
ผู้บริหารต้องมี Vision


ต้องคิดต่อจาก Visions ให้เป็น "Missions and Actions" ให้ได้จึงจะไม่เป็นแค่ความฝัน....แม้ว่า ความคิดก้าวหน้าหรือความกล้ามองก้าวไกลของผู้นำหรือผู้บริหารเป็นสิ่งที่ดี..แต่ถ้าปราศจากรายละเอียด ทิศทางที่ชัดเจนหรือสิ่งที่ปราถนาจะดำเนินการ เราคงจะไม่อาจเรียกว่า "วิสัยทัศน์" ได้ เพราะทุกอย่างคงจบลงเพียง "เรื่องราวในความฝัน ที่เมื่อตื่นขึ้นก็กลับเข้าสู่สภาพเดิม แม้เราจะเฝ้าโหยหามากน้อยเพียงใด มันก็ไม่สามารถทำให้เกิดเป็นจริงได้"...
จาก Vision สู่ Mision


วิบูลย์ จุง [2] Mission ไม่ได้มากจาก Miss ที่แปลว่าผิดพลาด หรือ ผู้หญิงโสด แต่มันเป็นคำเฉพาะ แปลว่า หน้าที่การงาน คณะทูต หรือ การเผยแผ่ศาสนา แต่แปลเป็นไทยว่า พันธกิจ

พันธกิจ มาจาก พันธะ หรือ ความผูกพัน กับคำว่า กิจ แปลว่า หน้าที่การงาน รวมแล้วก็น่าจะหมายถึง งานที่มีความผูกพันต่อเนื่องกับวิสัยทัศน์ ในเชิงการบริหารจัดการมากกว่า โดย ทั่วไปแล้ว พันธกิจ จะบอกถึงสิ่งที่องค์กรกำลังทำอยู่ในปัจจุบันมากกว่า ช่วยทำให้เรารู้ว่าเราคือใคร (Who we are?) และกำลังทำอะไร (What we do?)

บาง คนก็เข้าใจว่า พันธกิจ หรือหน้าที่ของเขา คือ ทำกำไร ซึ่งก็จริงอย่างที่เขาพูด ทั้งนี้ สิ่งที่จะเป็นพันธกิจขององค์กรถึงแม้นจะไม่ใช่การทำกำไรโดยตรง แต่หากทำแล้วองค์กรก็จะมีกำไรตามมา แต่บางองค์กรไม่ใช่องค์กรแสวงหากำไร แล้วพันธกิจของเขาคืออะไร??? อันนี้ก็น่าคิดเหมือนกัน

พันธกิจถ้า จะเขียนให้ดี ต้องรู้ว่า ลูกค้าจริงๆของเราเป็นใคร ความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างไร รู้ว่าเราเป็นอย่างไร และ จะทำอย่างไรเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทำอย่างไรถึงจะสามารถสนับสนุนการขาย ทำอย่างไรถึงจะให้คู่แข่งตามไม่ทัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของทั้งองค์กรของทุกคน

จริงๆแล้ว กฎการเขียนก็คงไม่ตายตัวสักเท่าไหร่ แต่เวลาหาข้อมูลไปลึกๆเข้าก็จะพบว่า “Peter Drucker” ปรมาจารย์ด้านการจัดการของโลก เคยระบุไว้ว่า โดยส่วนใหญ่แล้วพันธกิจขององค์กรๆ หนึ่งมักจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบด้วย 9 ประการ คือ

1. ลูกค้า
เป็นการ แจกแจงว่า ลูกค้าของเราเป็นใคร ซึ่งก็จะมีทั้งแนวทางการหาลูกค้า ในกรณีลูกค้าไม่ประจำ หรือ องค์กรที่เน้นลูกค้าเป็นหลัก ก็จะพูดถึงความพึงพอใจของลูกค้า

2. สินค้าและบริการ
เป็น การดูว่า สินค้า และ บริการ ของเราเป็นสินค้าประเภทใด ซึ่งก็มุ่งประเด็นไปตรงกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย หรือ ชูประเด็นให้เห็นถึงมุมมองของสินค้าและบริการที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กร จริงๆ

3. ตลาด (ตามภูมิศาสตร์แล้ว องค์กรเข้าไปดำเนินการแข่งขันในบริเวณใดบ้าง?)
นอก จาก ตลาดจะอยู่ที่ใดตามภูมิศาสตร์แล้ว องค์กรยังมีการตลาด แนวทางการตลาด วิธีที่ใช้ในการตลาด ไม่ว่า จะเป็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือ กลวิธีที่จะส่งผลอย่างไรเพื่อให้วิสัยทัศน์ได้บรรลุเป้าหมายได้จริง

4. เทคโนโลยี
องค์กร ใช้เทคโนโลยี อย่างไร หรือมี นวัตกรรมอะไรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหรือสร้างสรรงานใหม่ๆ หรือ องค์กรมุ่งเน้นทางด้านนวัตกรรมมากน้อยเพียงใด

5. การคำนึงถึงการอยู่รอด เติบโต และผลกำไร
ซึ่ง เรื่องนี้แทบจะต้องมีในทุกๆองค์กรเลยก็ว่าได้ เพราะว่าเป็นหัวใจของธุรกิจเลยว่า ต้องอยู่รอดได้ ต้องมีกำไร ต้องเติบโต ให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

6. ปรัชญา
ปรัชญา จะบ่งบอกถึง ความเชื่อ ความเป็นองค์กร วัฒนธรรมองค์กร คุณธรรม จริยธรรมขององค์กร รวมไปถึง ค่านิยมขององค์กรว่า ภาพรวมขององค์กรที่สำคัญๆ และส่งผลให้ วิสัยทัศน์ ฉายแววแห่งความสำเร็จนั้น มีพื้นฐานต่างๆอย่างไร

7. ความแตกต่าง
การ สร้างความแตกต่างก็เพื่อให้องค์กรมีจุดยืนพิเศษ เพื่อให้เหนือคู่แข่งขัน หรือ ให้มีความแตกต่าง เป็นจุดเด่น เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสนใจในตัวองค์กรขึ้น ทั้งนี้เราจะต้องเลือกเฉพาะความแตกต่างที่สร้างสรรที่จะนำพาให้องค์กรประสบ ความสำเร็จเป็นเกณฑ์เท่านั้น

8. การคำนึงถึงสังคม
บาง องค์กร บางหน่วยงาน ให้ การคำนึงถึงสังคม ต่อชุมชน หรือ ต่อสิ่งแวดล้อมเป็นตัวชูโรงว่า ตนนั้นทำเพื่อสังคม ทำเพื่อประชาชน เพื่อให้ภาพลักษณ์ดูดี เป็นการทำ PR อย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ต้องมั่นใจ หรือ ทิศทางที่ชัดเจนจริงๆ ถึงจะใช้ในลักษณะนี้ การใช้แค่สร้างภาพเพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้ คนทำงานสับสนกับองค์กรได้

9. การคำนึงถึงบุคลากร
องค์กร ที่คำนึงถึงบุคลากรเป็นหลัก เมื่อลงข้อนี้พนักงานจะมีความเชื่อมั่นในองค์กรมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ความจริงใจ การพัฒนาบุคลากรอย่างเต็มที่ เต็มประสิทธิภาพ จะทำให้ ผลงานที่ได้รับออกมาดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว เฉพาะองค์กรที่มีจำนวนพนักงานมากๆเท่านั้น ถึงจะกล่าวในจุดนี้ เพื่อดึงใจพนักงานให้สูงขึ้น แต่หากไม่ดำเนินตามที่เขียนไว้ บางทีก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้เช่นกัน

ส่วนตัวผม (วิบูลย์ จุง) ผมก็จะเพิ่มหัวข้อเหล่านี้เข้าไปด้วยในกรณีบางองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ไม่ใช่เก่งกว่า Perter Drucker แต่เพราะว่ามันใช้งานจริง จึงเห็นสิ่งที่ควรจะเพิ่มก็เท่านั้น

10. เป้าหมายการดำเนินงาน
เพื่อ ให้การทำงานเด่นชัดมากขึ้น การดำเนินงานจึงต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน รู้ว่าทำไปแล้วได้อะไร เพื่ออะไร แล้วจะส่งผลอย่างไรกับองค์กร

11. ทีมงาน และ สายสัมพันธ์
เพื่อ มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม ไม่ว่าจะเป็นทีมเล็ก ทีมใหญ่ หรือ ทีมทั้งหมดที่เป็นองค์กร ทั้งนี้ เมื่อระบุในพันธกิจ ก็จะหมายถึง การสร้างนโยบายในเชิง ทีมงาน เป็นหลักด้วย

ทั้งหมดเป็นเพียงแนวทาง การเขียน Mission หลักๆเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่มีหลักการตายตัวในการเขียน เพียงแต่เมื่อเขียนแล้วขอให้สามารถสื่อสารคนภายในองค์กรได้จริง มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพื่อให้บรรลุ วิสัยทัศน์ ที่ได้ตั้งขึ้นมา

ถ้ามี พันธกิจ แล้วไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร เริ่มต้นไม่ถูกไม่รู้จะให้แผนกไหนทำอะไรบ้าง ลองใช้แบบจำลอง Value chain ของ Michael E porter เขาจัดช่องไว้ให้แล้ว ไม่ต้องเสียเวลาคิดสะเปะสะปะ
Value chain

ถ้าสมัยใหม่หน่อยก็จะใช้กรอบแนวคิดชื่อ business model canvas จะเหมาะกับธุรกิจยุคใหม่ที่เน้นการทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน และการตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
business model canvas

ต่อไปก็มาเขียน action plan ชี้ให้ชัดว่าจะทำอะไร อย่างไร แบ่งให้ใครรับผิดชอบ และจะทำเมื่อไร

อ. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล เขียนเกี่ยวกับความสำคัญของการแบ่งงานกันทำไว้ว่า "คนทำงานไม่เป็น" จะรวบอำนาจและการตัดสินใจไว้ที่ตนทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจมักจะคิดและมอบหมายงานเพียงลมปาก โดยปราศจากการตรึกตรองถึง บทบาทอำนาจหน้าที่และองคาพยบที่จำเป็นของผู้ที่ได้รับมอบหมาย...ที่สำคัญจะพึงตามหาแต่ผู้รับผิดชอบและความก้าวหน้า ทั้งที่ไม่เคยให้ใครเป็น "Champion หรือ Leader" อย่างเป็นกิจจะลักษณะและสนับสนุนอะไร...สุดท้ายงานต่างๆก็ไม่เป็นผล ล้าช้า ไม่คืบหน้า ไม่ประสบความสำเร็จ องค์กรเสียโอกาสและล้าหลังในที่สุด..."ถ้าเป็นอย่างนี้ จะบอกว่าลูกน้องไม่ดี ไม่เก่ง ทำงานล้มเหลว ไม่น่าอภัยไม่ได้.. แต่ต้องบอกว่าเจ้านายไม่เก่ง ไม่เอาไหน ทำงานไม่เป็น ทำงานแย่ บริหารล้มเหลวต่างหาก..." 
Action Plan


เมื่อวางแผนเสร็จแล้วขั้นตอนสุดท้ายคือการลงมือทำตามแผนให้เต็มที่ ผลออกมาจะเป็นไงช่างมัน การยอมรับในผลที่เกิดขึ้นไม่ฟูมฟายเขาเรียก สันโดษครับ 

“ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ทุกวันนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนเดิม เราเพียงแต่เปิดใจให้กว้าง ยอมรับความจริงตามกฏธรรมชาติด้วยจิตใจที่เป็นธรรม แล้วยินดีพอใจในสิ่งที่มี ที่เป็น ที่หามาได้ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รู้จักคิดดี คิดถูก เท่านั้นแหละ“ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก[3]

สู้ต่อไป SME ไทย

ที่มา: 
[1] เฟสบุกของ อ, พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล
[2] วิบูลย์ จุง, กำหนด Mission พันธกิจ, http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wbj&group=46
[3] พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก “สันโดษ… เคล็ดลับของความสุข”

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

จะทำธุรกิจต้องรู้จักสภาพการแข่งขันในตลาด

ในการตัดสินใจทำธุรกิจสิ่งแรกที่ต้องดูคือสภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่เราจะลงทุน ถ้าคุณลงทุนในอุตสาหกรรมที่แข่งกันดุเดือดทำนายได้เลยว่าในการทำธุรกิจเหนื่อยและไม่ได้ตังค์แน่นอน เพราะในระยะยาวแล้วผู้ประกอบการในตลาดเหล่านี้จะไ้ด้รับเพียงกำไรปกติเท่านั้น

มาดูทฤษฎีกันก่อน ตามหลักเศรษฐศาสตร์ในเรื่องของแบบจำลองตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีข้อสมมติว่าถ้าตลาดสินค้าหรือบริการประเภทหนึ่งที่มีลักษณะดังนี้ คือ
  1. มีหน่วยผลิตหรือผู้ขายรายเล็กๆ จำนวนมากจนกระทั่งไม่มีรายใดมีอิทธิพลต่อการกำหนดปริมาณและราคาในตลาด ผู้ขายแต่ละรายจึงเป็นผู้รับราคา (price taker) คือ ต้องขายสินค้าตามราคาตลาดเท่านั้น
  2. สินค้าหรือบริการของผู้ผลิตแต่ละรายมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ จึงสามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ นั่นคือ ถ้าผู้ขายรายใดขายสินค้าในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ผู้บริโภคจะไม่ซื้อสินค้าจากผู้ขายรายนั้นเลย
  3. การเข้าและออกจากตลาดของผู้ผลิตแต่ละรายเป็นไปอย่างเสรี ไม่มีอุปสรรคหรือการกีดกัน 
  4. การเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิตและสินค้าเป็นไปอย่างเสรี สะดวกรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างน้อย โดยนัยของลักษณะในข้อนี้  ราคาสินค้าในแต่ละท้องที่จะมีแนวโน้มเท่ากัน 
  5. ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรอบรู้เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าด้านราคา ปริมาณ คุณภาพ แหล่งซื้อขาย ฯ ล ฯ 
 ในโลกของความเป็นจริง ไม่มีสินค้าหรือบริการชนิดใดที่มีโครงสร้างตลาดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 5 ประการนี้ อย่างไรก็ตาม หากตลาดนั้นมีคุณสมบัติอย่างน้อย 3 ประการแรก ก็พอจะอนุโลมได้ว่า ตลาดดังกล่าวใกล้เคียงกัลป์ตลาดแข่งขันสมบูรณ์มากที่สุด เช่น โครงสร้างของตลาดข้าวเปลือกในประเทศไทย เป็นต้น

ตามแบบจำลองของตลาดแข่งขันสมบูรณ์นั้น ในระยะยาวผู้ผลิตแต่ละรายจะมีกำไรปกติเท่านั้น เพราะถ้ารายใดมีกำไรเกินปกติ จะชักนำให้มีผู้ผลิตรายใหม่ เข้ามาในตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้อุปทานสินค้าในตลาดมีมากขึ้น ส่งผลให้ราคาหรือรายรับเฉลี่ยลดลง และกำไรจะค่อยๆ หดหายไปในที่สุด

มาดูตัวอย่างในตลาดหุ้นไทยกันได้กำไรเกินปกติแป็บนึงเดี๋ยวก็มีคู่แข่งมาแชร์ตลาด

UMS เป็นหุ้นนำเข้าถ่านหินเพื่อขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อหลายปีก่อนโต เร็วมาก เพราะราคาน้ำมันเตาสูง ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมเปลี่ยนหม้อไอน้ำจากใช้น้ำมันเตาเป็นใช้ถ่านหินแทน ทำให้หุ้นตัวนี้มีกำไรโตมาก เพราะสินค้าบริษัทไปทดแทนสินค้าอื่น แต่เนื่องจากธุรกิจนี้มีการเข้ามาแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหม่ง่าย จึงทำให้บริษัทมี Gross Margin ที่ตกลงในที่สุด


ธุรกิจอย่างโรงกลั่นและปิโตรเคมี ก็เป็นธุรกิจที่คู่แข่งเข้ามาได้ง่าย การเข้ามายากหรือง่ายนั้น เงินลงทุนที่สูงเป็นปัจจัยที่ไม่สำคัญนัก เพราะบริษัทใหญ่ๆเงินระดับหมื่นล้านก็ไม่ใช่จำนวนที่มากเกินไป ถ้า spread ปิโตรเคมีอยู่ในระดับสูง ใครๆก็อยากสร้างโรงงาน เพราะคืนทุนเร็ว แต่ถ้าใครๆที่มีเงินก็สร้างได้ พอ Spread สูงทุกคนก็แห่กันเข้ามาพอ ถึงเวลานั้นราคาสินค้าก็จะตกเพราะว่าคนแย่งกันขายของทำให้ผู้ถือหุ้นปิโต รเคมีหรือโรงกลั่นมักมีช่วงเวลา Honeymoon period ที่สั้น